วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มูลเหตุที่ทำให้เกิดสำนวนไทย




มูลเหตุที่ทำให้เกิดสำนวนไทย

1. เกิดจากธรรมชาติ
2. เกิดจากการกระทำ
3. เกิดจากอุบัติเหตุ
4. เกิดจากแบบแผนประเพณี
5. เกิดจากความประพฤติ
6. เกิดจากการละเล่น

สำนวนไทยที่เกิดจากธรรมชาติ
1. กาฝาก
ความหมาย กินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้
ความเป็นมา กาฝากเป็นต้นไม้เล็กๆ เกิดเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่ และอาศัยอาหาร ในต้นไม้ใหญ่เลี้ยงตัวเอง
ตัวอย่าง
ต้นไม้ที่มีกาฝากอยู่ ก็ต้องลดอาหารที่ได้สำหรับเลี้ยงตนไปเลี้ยงกาฝาก ประเทศก็เหมือนกัน มีภาวะการหาประโยชน์ได้มาก ก็ต้องเสียกำลังและทรัพย์ไปในทางนั้นมาก
มาจาก คนที่แอบแฝงเกาะกินผู้อื่นอยู่โดนไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้เขา จึงเรียกว่ากาฝาก
เช่น ถึงเป็นอนุชาก็กาฝาก ไม่เหมือนฝากสิ่งที่ว่าอย่าเย้ยหยัน
2. กินน้ำไม่เผื่อแล้ง
ความหมาย มีอะไรเท่าไร่ใช้หมดในทันที
ความเป็นมา มาจากการอัตคัดน้ำ ตามธรรมดา หน้าเล้ง น้ำในคลองในบ่อบ่อลดน้อยลงหรือแห้งขอด ฝนก็ไม่ตกให้รองไว้กินได้ เมื่อมีน้ำอยู่เช่นมีในตุ่มในโอ่งก็ไม่ถนอมไว้ใช้ไว้กิน เอามาใช้เสียหมดก่อนจะถึงหน้าแล้ง ไม่เผื่อหน้าแล้งที่หาน้ำใช้ยาก ก็จะต้องได้รับความลำบาก อะไรที่ใช้เสียหมดสิ้นไม่เผื่อกาลข้างหน้าจึงพูดกันเป็นสำนวนว่า กินน้ำไม่เผื่อแล้ง
3. ไก่กินข้าวเปลือก
ความหมาย กินสินบน
สำนวนนี้พูดเต็มว่า ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ตราบใจ คนก็ยังกินสินบนอยู่ตราบสิ้น
4. ไก่ขัน
ความหมาย เวลารุ่งสาง
ความเป็นมา ธรรมชาติไก่พอเริ่มสางก็ขัน เสียงไก่ขัน จึงเป็นสัญญาณว่าเริ่มสางแสงเงิน แสงทองกำลังจะขึ้น
5. ไก่โห่
ความหมาย เวลารุ่งสาง
ความเป็นมา ธรรมชาติไก่พอเริ่มสางก็ขัน เสียงไก่ขัน จึงเป็นสัญญาณว่าเริ่มสางแสงเงิน แสงทองกำลังจะขึ้น
ตัวอย่าง
ตื่นแต่ไก่โห่มีในหนังสือสักจิตยา แก้วแกลบ เขียนว่า จนประมาณโมงเช้า ข้าพเจ้ายังรู้สึกว่าวันนี้เป็นวันแข่งม้า เป็นแต่รู้สึกว่าไม่ใช้วันอาทิตย์ เพราะถ้าไม่เช่นนั้น ก็ที่ไหน ข้าพเจ้าตื่นขึ้นแต่หัวไก่โห่เช่นนั้นไม่
6. ขาวเป็นสำสีเม็ดใน
ความหมาย คนที่มีผิวสีดำ
ความเป็นมา สำสีขาว แต่เม็ดในดำ ขาวเป็นสำลีเม็ดใน เป็นสำนวนที่ล้อคนผิดดำ คือ คนที่มีผิวขาวนั้นเปรียบได้กับสำลี ส่วนคนที่ผิดดำก็เป็นสำสีเหมือนกันแต่เป็นเม็ดใน
ตัวอย่าง
สมศักดิ์คุณเป็นคนที่มีผิวขาวกว่าสมศรีอีก แต่ขาวเป็นสำลีเม็ดใน
       7.ใจเป็นปลาซิว
ความหมาย ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ขี้ขลาด ขี้กลัว
ความเป็นมา ปลาซิวเป็นปลาชนิดหนึ่งตัวเล็กๆ ตายง่าย คือ พอเอาขึ้นจากน้ำก็ตาย
                ตัวอย่าง
พระสังข์สรวลสันต์กลั้นหัวร่อ ยิ้มพลาง ทางตรัสตัดพ้อเอออะไรใจคอเหมือนปลาซิว
สังข์ พระราชนิพจน์รัชกาลที่ 2
       8. ตีปลาหน้าไซ
ความหมาย มีความหมายไปในทางว่า วางไซดักปลาไว้ปลากินมาอยู่หน้าไซ แล้วมาชิงช้อนเอาไปเสียก่อน เท่ากับว่าฉวยโอกาส เอาแต่ประโยชน์ของตนเป็นหลัก ทำอะไรเสียหายไม่คำนึงถึง เปรียบเหมือนอย่างจะจับปลา ก็ต้องลงทุนลงแรงทำไซ แต่ตนไม่ทำแล้วยังไปชิงช้อนปลาหน้าไซของคนอื่นที่เขาทำไซ
                ความเป็นมา มีปรากฏอยู่ในหนังสือมหาชาติ หรือ เวสสันดรชาดก ที่มีมาตั้งแต่ แผ่นดิน พระพรมไตรโลกนาถ แต่น่าแปลกที่ในตัวบาลี ที่ตรงกับตีปลาหน้าไซซึ่งไม่ทราบแน่ว่าจะเป็นสำนวนของชาติไทย หรือชาติอินเดีย สำนวนนี้มีในกัณฑ์ กุมารตอนพระเวสสันดร ให้ทานสองกุมาร แต่ชูชก แล้วชูชกตีสองกุมารเช่นกาพย์กุมารมรรพครั้งกระศรีอยุธยาว่า โอ้แสนสงสารพระลูกเอย กระไรเลยอนาถา ทั้งพราหมณ์เฒ่าก็ไม่เมตตา ตีกระหน่ำ นี่เนื้อแกล้งไห้เราชอกซ้ำแตกฉานในมกุฎทานบารมี เหมือนรายชาติเสื่อมศรีฤษยา มาตีกั้นสกัดปลาที่หน้าไซ บรรดาจะได้พระโพธิญาณ
               

ตัวอย่าง  
                                ข้านอนกับขุนช้างก็คืออยู่               แต่ได้สู่รบกันเป็นหนา
เสียตัวใช่ชั่วจะตื่นตา                                          เพราะพรายเขาเข้ามาสกดไว้
ถ้าผัวเมตตามาปกป้อง                                        วันทองฤาใครจะทำได้
เจ้าลอยช้อนเอาปลาที่หน้าไซ                           เพราะใจของเจ้าไม่เมตตา
ขึ้นช้างไปกับนางสาวทองน้อย                        ข้านี้ตั้งตาคอยละห้อยหา
หม่อมเมียเหนี่ยวไว้มิให้มา                              แค่นจะมีหน้าว่าไม่สมคำ
                                                                                                                                เสภาขุนช้างขุนแผน
9. ตีปีก
                ความหมาย ดีใจ
ความเป็นมา มาจากไก่ที่ตีปีกเมื่อแสดงอาการกิริยาร่าเริงคนเมื่อแสดงกิริยาร่าเริงก็งอแขนสองข้างขยับเข้าออกระทบกับลำตัว
ตัวอย่าง
บุญโรจน์ตีปีก ฉวยกล้องวิ่งไปทางขวา
                                                                                                น้อยอินทเสน พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6
10. ตืดเป็นตังเม
                ความหมาย ขี้เหนียว คือเอาแต่แม้ซึ่งมีลักษณะเหนียวมาเปรียบกับคนที่ขี้เหนียว ไม่ยอมเสียอะไรให้ใครได้ง่ายๆ
11. เต่าใหญ่ไข่กลบ
ความหมาย ทำอะไรที่เป็นพิรุธแล้วพยายามกลบเคลื่อนไม่ให้คนอื่นรู้
ความเป็นมา สำนวนนี้เอาแต่มาเปรียบ คือเต่าใหญ่ เช่น เต่าตัวที่อยู่ในทะเลเวลาจะไข่ก็คลานขึ้นมาที่หาดทราย คุ้ยทรายให้เป็นหลุมแล้วไข่ ไข่สุดแล้วมักเขี่ยทรายกลบไข่ แล้วเอาอกของมันถูไถทราย ปราบให้เรียบเหมือนทรายเดิมเป็นการป้องกัน ไม่ให้ใครไปทำอันตรายไข่ของมัน
ตัวอย่าง
ถ้าใจดีจริงไม่ชิงผัว            ก็จะทูลบิดผันไม่พันพัว
นี่ออกสั่นรัวรีบรับเอา                         เต่าใหญ่ไข่กลบแม่เจ้าเอ๋ย
ใครเลยเขาจะไม่รู้เท่า                          เขาว่าถูกใจดำทำหน้าเง้า
บทละครรามเกียรติ์ของกรมพระราชวังบวร
12. เตี้ยอุ้มค่อม
                ความหมาย ทำงานหรือประกอบกิจการหรือทำอะไรที่ต้องมีภาระมากมายใหญ่โตเกินกำลังหรือความสามารถของตนเองที่จะปฏิบัติ หรือประคองให้ตลอดรอดฝั่งไม่ได้
ความเป็นมา เปรียบได้กับคนที่เตี้ยอยู่แล้ว ยังไม่อุ้มคนค่อมคือคนเตี้ยเข้าอีก ก็ย่อมจะพากันไม่ไหว เตี้ยหมายถึงฐานะการเงิน ฯลฯ อะไรก็ได้ เช่นคงมีรายได้น้อยแล้วมีเมียหลายคนที่ต้องเลี้ยงดู อย่างนี้เรียกว่า เตี้ยอุ้มค่อม
ตัวอย่าง
เตี้ย ควรปราบห้ามจิตร                     เจียมตน
อย่างกอบกิจเกินตน                                            ติดกับ
อุ้ม แต่จุแรงงาน                                                  ขึ้นบ่า เดินแฮ
ค่อม นักลักห่วงส้ม                                             บอกแล้วอย่าลืม
                                                                                                                โครงกระทู้สุภาษิต
13. แต่งร่มใบ
                ความหมาย ผิวเนื้อนวลงาม มักใช้กับหญิงสาวที่มีผิวพรรณงามผ่อง เช่น พูดว่าผิวยังกะแตงร่มใบ
                ความเป็นมา สำนวนนี้เอาแตงมาเปรียบ คือ แตงที่ผลโตมีใบปิดบังร่ม ไม่ถูกแดดเผา ผิวแตงขึ้นนวลงามเรามักพูดกันว่า นวลแตง
ตัวอย่าง
ในเสภาขุนช้างขุนแผน กล่าวถึงนางพิมทาแป้ง แต่ไรใส่น้ำมัน ผัดหน้าเฉิดฉัน ดังนวลแตง
นวลแตงก็คือนวลเหมือนแตงร่มใบ
14. โตฟักโตแฟง
ความหมาย โตแต่กาย ส่วนสติปัญญาความคิดยังน้อย ใช้กับเด็กโตมีอายุมาแล้ว แต่ยังทำอะไรเหมือนกะเด็กเล่น
                ความเป็นมา สำนวนนี้เอาฟักและแฟงมาเปรียบคือ ฟักแฟงมักจะใหญ่เกินวัน
15. ถ่านไฟเก่า
                ความเป็นมา ถ่านที่เคยติดไฟแล้วมอดอยู่ หรือถ่านดับ ถ่านอย่างนี้ ติดไฟลุกง่ายเร็วกว่าถ่านใหม่ที่ไม่เคยติดไฟเลย ได้เชื้อเข้านิดหน่อยก็ติดลุกทันที เราเปรียบกับหญิงที่เคยเป็นภรรยา หรือเคยได้เสียกับชายมาแล้ว แล้วมาพรากจากกันไป พอมีโอกาสมาพบกันใหม่ก็คืนดีกัน
16. ถึงพริกถึงขิง
                ความหมาย รุนแรงเต็มที่
ความเป็นมา มาจากการปรุงอาหารแล้วใส่ขิง หรือมีรสเผ็ด ขิงมีรสร้อน เมื่อใส่มากก็จะมีรสทั้งเผ็ดทั้งร้อน การทำอะไรที่รุนแรงเต็มที่ หรือการกล่าวถ้อยคำที่รุนแรง เช่น การเล่นหรือการถกเถียง จึงพูดเป็นสำนวนว่า ถึงพริกถึงขิง



17. น้ำขึ้นปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
ความหมาย ยามชะตาขึ้นทำอะไรไม่ดีกับใครไว้ ยามชะตาตกเขาทำกับเราไม่ดีเหมือนกัน
ความเป็นมา เปรียบได้กับเวลาน้ำขึ้นปลาก็ว่ายร่าเริง แต่พอน้ำลดแห้งปลาขาดน้ำก็ต้องตาย มดก็กลับมาตอมกินปลา
18. น้ำขึ้นให้รีบตัก
ความหมาย กำลังชะตาขึ้นจะต้องการอะไรหรือทำอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ตนก็ให้รีบทำเสีย
ความเป็นมา สำนวนนี้เอาน้ำในแม่น้ำในแม่น้ำลำคลองมาเปรียบเวลาน้ำขึ้นให้รีบตักใส่ตุ่มไว้ ถ้าเพิกเฉยน้ำลดแห้งไป ก็ตักไม่ได้
ตัวอย่าง
ผมเห็นว่าไม่ควรจะขัดใจแม่วิไลนะขอรับ โบราณท่านย่อมว่าปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน ถูกไหมขอรับ ผมจะรีบไปเดี่ยวนี้ น้ำขึ้นต้องขอรีบจ้วง
19. น้ำเชี่ยวขวางเรือ
ความหมาย ขัดขวางเรื่องหรือเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและกำลังเป็นไปอย่างรุ่นแรง ซึ่งเมื่อทำแล้วก็เป็นอันตรายต่อตนเอง
ความเป็นมา สำนวนนี้เอากระแสน้ำที่กำลังไหลเชี่ยวมาเปรียบ คือเมื่อน้ำกำลังไหลเชี่ยว กระแสน้ำจะพุ่งแรง ถ้านำเรือไปขวางเรือก็จะล่ม
ตัวอย่าง
                “น้ำ ใดฤาเท่าด้วย                น้ำมโน
เชี่ยวกระแสอาโป                               ปิดได้
ขวาง ขัดหฤทโย                                  ท่านยาก อย่าพ่อ
เรือ แห่งเราเล็กใช้                              จักร้าวรอยสลาย
                                                                                โครงสุภาษิตเก่า
20.น้ำตาลใกล้มด
                ความเป็นมา ผู้หญิงอยู่ใกล้ผู้ชาย น้ำตาลอยู่ใกล้มด มดย่อมตอมน้ำตาลฉันใด ผู้หญิงอยู่ใกล้ผู้ชาย ผู้ชายก็มักจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับผู้หญิงฉันนั้น
ตัวอย่าง
อันบุรุษสตรีนี้เหมือนมด มันเหลืออดที่จะไม่ชิมลิ้มหวาดได้
                                                                                                เงาะป่า พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 5
21.บ่นออดเป็นมอดกัดไม้
ความหมาย คนบ่นเสียงเบา ดังออดแอด ๆ
                ความเป็นมา มอดเป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่เกิดในเนื้อไม้ และกัดกินเนื้อไม้ เช่น เสาเรือน ฝาเรือน ขณะกัดกินเนื้อไม้ได้ยินเสียงออด ๆ จึงเอาเสียงที่เกิดจากมอดกัดไม้มาเปรียบ พูดว่าบ่นเป็นมอดกัดไม้
22.ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ
                ความหมาย ปล่อยคนสำคัญที่ตกอยู่ในอำนาจให้พ้นไป คนนั้นย่อมจะมีกำลังขึ้นอีก เพราะว่า ธรรมชาติของเสือจะอยู่ในป่า ปลาจะอยู่ในน้ำ เมื่อปล่อยกลับคืนที่ของมัน มันก็จะมีกำลังขึ้นอย่างเดิม
                ตัวอย่าง
                                “ประเพณีตีงูให้หลังหัก     มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง
จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง               เหมือนเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย
                                                                                                                                พระอภัยมณี
23. เป็นนกอับ
                ความหมาย ไม่ค่อยพูดจาขณะที่คนอื่นๆเขาพูดเขาคุยกัน
ความเป็นมา สำนวนนี้มาจากนกเขา นกเขาบางตัวอยู่ตามปกติขันแต่พอไปเข้าหมู่นกเขาตัวอื่นที่ขันเก่ง มันก็นิ่งเงียบไปไม่ขัน อย่างนี้เรียกว่า อับ คนที่ปกติพูดเก่ง แต่พอไปเข้าหมู่ทีเขาสนทนากัน ตนนิ่งไม่พูด จะเป็นเพราะไม่อยากพูดหรือพูดไม่ทันเขาก็ตามเราเรียกเป็นสำนวนว่า เป็นนกอับ
ตัวอย่าง
                “แน่ะ สมบัติ เธอยังไรไม่ค่อยพูดไม่ค่อยเจรจากับเขาบ้าง ดูยังกับนกอับไปทีเดียว
รัตนทวารา 24. พูดเป็นต่อยหอย
                ความหมาย พูดจาฉอด ๆไม่ได้หยุดปาก
                ความเป็นมา มูลของสำนวนเข้าใจว่ามาจากหอยนางรม คือ หอยนางรมเป็นหอยจับอยู่ตามก้อนหิน เวลาจะเอาตัวหอยต้องต่อยออกจากก้อนหิน การต่อยต้องต่อยเรื่อย ๆไปไม่หยุดมือ เสียงดังอยู่เรื่อยๆตลอดเวลา
ตัวอย่าง
                                “ครั้นจะโดดหนีไปก็ไม่ใช่ที่ คอยจับโอกาสที่จะหนีก็ไม่ได้ มีแต้มจะทรุดลงทุกที เพราะว่าแม่มดคนนั้นช่างพูดคล่องราวต่อยหอย” (ลักวิทยา)
25.มือเป็นฝักถั่ว
ความหมาย แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนด้วยการไหว้
ความเป็นมา ฝักถั่วมีลักษณะอ่อนช้อยโน้มน้อมลงมา ดังนั้นโบราณเอาฝักถั่วมาเปรียบกับการไหว้ โดยใช้มือยกขึ้นไหว้เป็นการแสดงความอ่อนน้อม
ตัวอย่าง
ในตำนานเมืองเพชรบุรีของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ) กล่าวถึงสามเณรแตงโม (คือ สมเด็จพระเจ้าแตงโม) ตอนหนึ่งว่า
พอสามเณรขึ้นเทศน์ตั้งนโมแล้ว เดินบทจุสนีย์เริ่มทำนองธรรมวัตรสำแดงไปพวกทายก ทั้งข้างหน้าข้างในฟังเพราะจับใจ กระแสแจ่มใสเมื่อเอ่ยถึงพระพุทธคุณมีภควา หรือพระอะระหัง เป็นอาทิครั้งใด เสียงสาธุการพนมมือแลเป็นฝักถั่วไปทั้งโรงธรรม
โบราณเอาฝักถั่วมาเปรียบกับมือที่ยกขึ้นไหว้เมื่อพูดว่า มือเป็นฝักถั่วก็หมายถึงมือที่อ่อนน้อม

สำนวนไทยที่เกิดจากการกระทำ
1. ไกลปืนเที่ยง
ความหมาย ไม่รู้เรื่องอะไรเลย
ความเป็นมา สมัยโบราณเราใช้กลองและฆ้องตีบอกเวลาทุ่มโมง กลางวันใช้ฆ้อง จึงเรียกว่าโมงตามเสียงฆ้อง กลางคืนใช้กลองจึงเรียกทุ่มตามเสียงกลอง ตามพระนครมีหอกลองตั้งกลางเมือง สำหรับตีบอกเวลา มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่5 ปี พ.. 2430 มีการยิงปืนใหญ่ตอนกลางวันบอกเวลาเที่ยง ปืนเที่ยงนี้ยิงในพระนคร จึงได้ยิงกันแต่ประชาชนที่อยู่ในพระนครในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ตั้งปืน ถ้าห่างออกไปมากก็จะไม่ได้ยิน ดังนั้นเกิดคำว่า ไกลปืนเที่ยง ซึ่งหมายความว่าอยู่ไกลปืนเที่ยง เป็นสำนวนใช้หมายความว่าไม่รู้ไม่ทราบเรื่องอะไรที่คนอื่นในพระนครเขารู้กัน เลยใช้ตลอดไปถึงว่าเป็นคนบ้านนอกคอกนา งุ่มง่าม ไม่ทันสมัยเหมือนชาวพระนคร
2. ข่มเขาโคให้กินหญ้า
                ความหมาย ใช้กับโค หมายถึงจับเขาโคกดลงให้กินหญ้าหรือบังคับให้กิน เอาใช้กับคนหมายความว่าบังคับขืนใจให้ทำ สำนวนนี้พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า งัวไม่กินหญ้า อย่าข่มเขา
ตัวอย่าง
จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์               เหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
กลัวเกลือกทั้งเจ็ดธิดา                                         มันจะไม่เสน่ห์ก็ไม่รู้
                                                                                                                สังข์ทอง พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
3. คนล้มอย่าข้าม
ความหมาย อย่าดูถูกคนที่ล้มเหลวในชีวิต
                ความเป็นมา สำนวนนี้มักมีคำต่ออีกว่า ไม้ล้มจึงข้าม แปลว่าคนดีที่ต้องตกต่ำยากจนหรือหมดอำนาจ เนื่องจากชีวิตผันแปรเปลี่ยนแปลงไป ไม่ควรจะลบหลู่ดูถูกเพราะคนดีอาจเฟื่องฟูอีกได้ ผิดกับที่ล้มแล้วข้ามได้
     4. คลื่นกระทบฝั่ง
                ความหมาย เรื่องสำคัญที่เกิดขึ้น ดูท่าทางจะเป็นเรื่องไปใหญ่โต แต่แล้วก็เงียบหายไปเฉยๆ เราพูดกันเป็นสำนวนว่า คลื่นกระทบฝั่ง หรือว่า คลื่นหายไปกับฝั่ง ก็ได้
ตัวอย่าง
                “อันคลื่นใหญ่ในมหาชลาสินธุ์ เข้าฝั่งสิ้นสาดเข้าไปที่ในฝั่ง
                                                                                                                                เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ
5. คลุกคลีตีโมง
                ความหมาย อยู่ร่วมกันคลุกคลีพัวพันไปด้วยกัน
ความเป็นมา คำว่าตีโมงหมายถึง ตีฆ้อง การเล่นของไทยในสมัยโบราณมักจะตีฆ้องกับกลองเป็นสิ่งสำคัญ เช่น โมงครุม ระเบ็ง ฯลฯ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในบุณโณวาทคำฉันท์ว่าโมงครุ่มคณาชายกลเพศพึงแสยง ทับทรวงสริ้นแผง ก็ตะกูลตะโกดำ เทริดใส่บ่ ใคร่ยล ก็ละลนละลานทำ กุมสีทวารำศรับ บทร้องดำเนินวง
                ตัวอย่าง
                                สรวมเทริดโมงครุ่มแพร้ว               ทองพราย พร่างนอ
                ทายเทอดสรประลอง                                          หน่วงน้าว
                คนฆ้องเฆาะฆ้องราย                                         โหมงโหม่ง โม่งแฮ
                กาลเทรดขรรค์ข้องท้าว                                      นกยูง
                                                                                                                โคลงแห่โสกัญต์
6. ควักกระเป๋า
ความหมาย ต้องเสียเงิน ต้องจ่ายเงินจะเป็นเงินจากกระเป๋าเราเอง หรือจากกระเป๋าคนอื่นก็ได้ ไว้ได้ทั้งสองทาง
ความเป็นมา การหยิบเงินออกจากประเป๋า
ตัวอย่าง
                                “การใช้ฝรั่งจึงเป็นการสะดวก เพราะใช่แต่ว่าเขาได้ช่วยให้เราไม่ต้องทำงานด้วยกำลัง ทั้งเขายังได้ปลดเปลื้องความลำบากของเราในการที่ต้องคิดอีกด้วย เราเป็นแต่ควักกระเป๋าฝรั่งเขาจัดการเสร็จ
                                โคลงติดล้อของอัศวพาหุ
                “ วิธีที่จะเรี่ยไรให้ได้เงินมากต้องให้ออกกันตามมีตามจน ซึ่งแปลว่าจะควักกระเป๋าคนมั่งมีได้ และยกเว้นไม่ต้องควักกระเป๋าคนจน
เรื่องที่เสียของครูเทพ
7. ความวัวไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก
                ความหมาย เกิดเรื่องขึ้นยังไม่ทันเสร็จเรื่อง มีเรื่องใหญ่เกิดขึ้นซ้อนขึ้นมาอีก
                ตัวอย่าง
                                นิทานเรื่องหนึ่งมีใจความว่า เกิดคดีลักวัวพิพาทกันในระหว่างชายสองคนพระเจ้าแผ่นดินทรงชำระยังไม่ทันเสร็จ เกิดเรื่องควายในระหว่างชายทั้งคู่นั้นอีก จึงว่า ความวัวไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแรก
                                                “ พบปะหน้าไหนใส่เอาหมด           ไม่ลดละทะเลาะคนเสียจนทั่ว
                                ตะกิ้งตะเกียงเงี่ยงงารอบตัว                              ความวัวไม่หายความควายมา
ไกรทอง พระราชนิพนธ์รัชการที่2 8. คอทั่งสันหลังเหล็ก
                ความเป็นมา สมัยโบราณลงโทษประหารชีวิตใช้วิธีตัดหัวหรือตัดคอ โทษเบาหน่อยก็เฆี่ยนหลัง เฆี่ยนมากก็เป็นอย่างที่เราเรียกว่าหลังลายตลอดต้นคอคอกับหลังจึงมักจะอยู่ติดกันไป เมื่อจะพูดอะไรที่แสดงถึงความกล้าจนไม่คิดถึงว่าร่างกายจะเป็นอันตรายยับเยินจะเอาทั่ง คือที่ตีเหล็กกับเหล็กมาเปรียบเทียบกับคอและสันหลังพูดเป็นสำนวนว่าคอทั่งสันหลังเหล็ก
ตัวอย่าง
                                “ ใช่คอเขาเป็นทั่งสันหลังเหล็ก ไม่ใช่เด็กเขาจะทำเอาแต่ด้าย
                จะกะไรบ้างกระมังข้างเรานาย บุราณว่าหญิงร้ายชายทรชน
                                                                                                บทละครขุนช้างขุนแผน กรมพระราชวังบวรฯ
9. โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ
                ความหมาย สำนวนนี้มีต่อไปอีกว่าฆ่าพ่ออย่าไว้ลูกหมายความว่า ถ้าเอาหน่อไว้หน่อก็เจริญเติบโตขึ้นอีก ใช้ตลอดถึงการทำลายล้างคนพาลสันดานโกงต่าง ๆ
                “วัน ๒ฯ ๑๐ ค่ำ เจ้าพระยาอภัยภูธรจับเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตราที่วารสองสองชั้น ณ ๔ฯ ๑๐ สำเร็จการโทษตัดไม้ไม่ไว้หน่อ ฆ่าพ่อไม่เลี้ยงลูก สำเร็จโทษเสียด้วยกัน ณ วัดประทุมคงคา
จดหมายเหตุกรมหลวงนรินทราเทวี
                                                “การโค่นกล้วยอย่าไว้         หน่อแนม
มักจะเลือกแทรกแซม                        สืบเหง้า
โค้นพาลพวกโกงแกม                       กุดโคตร มันแฮ
จึ่งจักศูนย์เสื่อมเค้า                              เงื่อนเสี้ยนศัตรู
                                                                                                                โครงสุภาษิต
10. ชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน
                ความหมาย ทำอะไรก็ตามที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัวเอง
                ความเป็นมา ชักน้ำเข้าลึก ลางทีก็พูดกันว่าชักเรือเข้าลึกหมายถึง พาเรือที่ออกทะเลไปตกลึก ตกลึกเป็นภาษาเก่า แปลว่า ออกไปอยู่กลางทะเลใหญ่ลึกล้ำคล้ายกันที่เรียกว่าสะดือทะเล เมื่อเรือไปตกลึกก็มักเป็นอันตรายชักศึกเข้าบ้านหมายถึง ทำอะไรที่เป็นสาเหตุให้ข้าศึกมาติดบ้านเมือง
11. ซื้อผ้าดูเนื้อ
ความหมาย ทำอะไรให้พินิจพิเคราะห์ดูให้ถี่ถ้วนก่อน
ความเป็นมา มาจากการซื้อผ้าก็ต้องดูเนื้อผ้าให้ดี สำนวนนี้เป็นคู่กับคบคนดูหน้า

ตัวอย่าง
                                “ซื้อสรรพสิ่งต้อง เพียรพิศ
ผ้าอย่างใดเนื้อชนิด แน่นน้อย
ดุ ไม่ขาดควรคิด การต่อ ตามเฮย
เนื้อ เช่นเลอียดเรียบร้อย นุ่งได้เป็นดี
                                                โครงกระทู้สุภาษิต
12. ดาบสองคม
ความหมาย สิ่งที่ทำลงอาจให้ผลทั้งผลดี และผลร้ายได้เท่ากัน
ความเป็นมา เปรียบเหมือนดาบ ซึ่งถ้ามีคมทั้งสองข้างก็ย่อมเป็นประโยชน์ใช้ฟันได้คล่องแคล่วดี แต่ในขณะที่ใช้คมข้างหนึ่งฟันลง คมอีกข้างหนึ่งอาจโดนตัวเองเข้าได้ การทำอะไรที่อาจเกิดผลดีและร้ายได้เท่ากัน จึงเรียกว่าเป็นดาบสองคม
13. ดินพอกหางหมู
ความหมาย การงาน หรือธุระหรือเรื่องอะไร ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องลำบากหรือยุ่งยากเดือดร้อน
ความเป็นมา หมูแต่ก่อนมักอยู่ในที่ที่เป็นโคลนตม โคลนมักติดปลายหางแห้งแล้วก็ติดใหม่ พอกพูนโตขึ้นโตขึ้นทุกทีจนเป็นก้อนใหญ่อยู่ที่ปลายทาง
ตัวอย่าง
นอกจากนี้มีข้อทำให้เดือดร้อนรำคาญใจซึ่งกันและกันเป็นนานับประการ สิ่งละอันพรรณละน้อย แต่สะสมเข้าไม่ช้าก็เป็นก้อนใหม่เหมือนดินพอกหางหมู
พระบรมราโชวาทรัชกาลที่ 6
14. ดูดายเป็นอายตกน้ำ
ความหมาย ทำเฉย ทำไม่รู้ไม่ชี้ ไม่จับไม่ต้องจะเป็นอย่างไรก็ช่าง
ความเป็นมา สำนวนนี้จะมีมูลมาอย่างไรไม่ทราบ พูดกันลอยๆ อย่างเดียวกับสำนวนว่า แม่สายบัวแต่งตัวค้าง
15. โดดร่ม
ความเป็นมา สำนวนนี้เพิ่งเกิดใหม่มี กำเนิดจากการโดดร่มชูชีพจากเครื่องบินลงมาปฏิบัติการงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่พื้นดินเช่น ข้าศึกโดดร่มลงมาทำงานไม่ให้ฝ่ายปรปักษ์มีเวลาเตรียมตัวได้ทัน เรียกว่าโดดร่มเราเอามาใช้เป็นสำนวนหมายความว่า จู่มาไม่ทันรู้ตัว เช่น มีตำแหน่งว่างแล้วมีคนแปลกหน้าจากอื่นมารับตำแหน่งก็เรียกว่าโดดร่มมาเป็นอย่างที่พูดกันว่ามาเหนือเมฆสำนวนโดดร่มยังใช้เลยไปถึงว่าเลี่ยงหรือหลบ หรือละงานอาชีพที่อยู่เป็นประจำมาทำงานส่วนตัวเล็กน้อยชั่วครั้งชั่วคราวหรือชั่วครู่ยาม ไม่ให้เสียงานประจำก็ได้ด้วย เท่ากับว่าจู่มาชั่วครู่ชั่วยามนั้นเอง

16. ตายดาบหน้า
ความหมาย คิดมานะไปสู่กับเคราะห์กรรมเอาข้างหน้า
ความเป็นมา สำนวนนี้เข้าใจว่าจะมาจากการต่อสู้ในสนามรบ ซึ่งนักรบจะต้องก้าวหน้าเสมอ คือ เมื่อจะตายก็ไปตามเอาข้างหน้า ไม่มีย่อท้อถอยหลัง
ตัวอย่าง
ถ้าแม้นเพื่อนอยากตายวายชีวี         จงไปตายในยุทธนา
จงเชื่อฟังคำเตือนเพื่อนพูดดี                            ควรที่ไปตายดาบหน้า
พระร่วงพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6
17. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ความหมาย ทำอะไรต้องเสียทรัพย์แล้ว ไม่ได้ทรัพย์คุ้มกับที่ต้องเสียไป เช่น ทำงานมงคลอย่างใดอย่างหนึ่ง จัดเป็นงานหลายวันต้องหมดเปลืองมาก สำนวนที่ใช้หมายความอีกทางว่า ใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ก็ได้
ความเป็นมา ตำน้ำพริกเป็นเรื่องสำหรับสำหรับที่จะปรุงแกงทำเป็นอาหาร น้ำที่จะใช้ละลายก็ต้องเป็นไปตามส่วนของน้ำพริก จึงจะได้รสชาติดี แต่ถ้าตำน้ำพริกไปละลายในแม่น้ำก็เสียพริกเปล่า ๆ ไม่มีประโยชน์ แล้วน้ำพริกจำนวนเพียงเล็กน้อย ส่วนแม่น้ำกว้างใหญ่ เอาลงไปละลายก็กระจายสูญหายไปสิ้น ไม่ทำให้น้ำในแม่น้ำเกิดอะไรผิดแปลกมาเลย
ตัวอย่าง
ตำพริกขยิกขยี้ ฝีมือ
พริกป่นคนคิดถือ ครกได้
ละลายลงทะเลฤา รสจัก เผ็ดนา
ดั่งคนใจกว้างให้ ทรัพย์น้อยละลายสูญ
โครงสุภาษิต
18. ตีตนก่อนไข้
ความหมาย ได้ข่าวหรือได้รู่อะไรที่ไม่ดีเกิดขึ้น อันนั้นจะเกิดจริงหรือไม่ก็ได้ แต่กระวนกระวายทุกข์ร้อนหวาดกลัวไปเสียก่อน
ตัวอย่าง
วันนี้ไม่ควรจะร้อนตัวถึงความทุกข์ที่จะมีใน พรุ่งนี้
เปอร์เชียร์
รวบกวดอรทัยเข้าไปทัน สาวสวรรค์เข้ากลุ่มกุมกรไว้
พระองค์อย่าเพ่อวุ่นวาย จะด่วนตีตนตายเสียก่อนไข้
บทละครอิเหนาครั้งกรุงเก่า

19. ตีวัวกระทบคราด
ความหมาย แสร้งพูดหรือทำกับสิ่งหนึ่งให้กระทบกระเทือนไปถึงอีกสิ่งหนึ่ง
ความเป็นมา สำนวนนี้เอาคราดกับวัวมาเปรียบกับคราดคือ เครื่องสำหรับกวาดลากมูลหญ้ามูลฝอย ฯลฯ ตามพื้นดินในนา ทำด้วยไม้เป็นซี่ ๆ มีคันยาวใช้วัวลาก เวลาคราดตีวัว วัวก็ลากคราดไป ที่มาพูดตีวัวกระทบคราดก็คงเนื่องจากความสำคัญอยู่ที่คราด ประสงค์จะให้คราดทำงานแต่ทำอะไร คราดไม่ได้ก็หันมาทำกับวัว วัวต้องรับบาป ถูกตีจึงพูดว่าตีวัวกระทบคราดเลยเอามาเป็นสำนวนหมายถึง ต้องการจะทำอะไรกับสิ่งหนึ่ง แต่ทำสิ่งนั้นไม่ได้ ก็หาทางไปทำกับสิ่งอื่น ให้มีผลกระเทือนถึงสิ่งที่ต้องการจะทำนั้น
ตัวอย่าง
น้อยเอยน้อยหรือ                              สนุกมือทำไมกับข้าวของ
ถ้อยโถทุบประแทรกแตกเป็นกอง   หยาบคายร้ายแรงเต็มประภา
ราคาค่างวดสักกี่เบี้ย                                            ต่อยเสียอีกเถิดพี่ไม่ว่า
หน่อยหนึ่งก็ตะเภจะเข้ามา                               คอยซื้อหาเอาใหม่อย่าทุกข์ร้อน
ไม่พอที่ตีวัวกระทบคราด                   สัญชาติกระต่ายแก่แม่ปลาช่อน
คาวี พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2
20. ทำนาบนหลังคน
ความหมาย หาประโยชน์ใส่ตนด้วยอาศัยเบียดเบียนเอาจากผลน้ำพักน้ำแรงคนอื่น
ความเป็นมา สมัยโบราณเราทำนาเป็นอาชีพสำคัญ การทำนานั้นตามธรรมดานั้น ต้องทำบนพื้นดินนั้น ใครมีอาชีพหาประโยชน์ โดยอาศัยเบียดเบียนเอาผลจากน้ำพักน้ำแรงจึงเอาการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพสำคัญมาเปรียบเท่ากับว่าไม่ได้หากินบนพื้นที่นาเหมือนที่คนทั้งหลายทำกัน แต่ว่าเป็นการหากินบนหลังคนพูดเป็นสำนวนว่าทำนาบนหลังคนเช่นซื้อข้าวจากชาวนาด้วยราคาถูกแล้วมาขายเอากำไรแพง หรือให้กู้เงินเอาดอกเบี้ยแพง
21.บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น
ความหมาย ทำอะไรให้ค่อย ๆ ทำอย่าให้เป็นการรุ่นแรงกระเทือนใจถึงขุ่นหมองกัน
ตัวอย่าง
จับปลาให้กุมหัว เปลื้องใบบัวอย่าให้หนอง บัวมิให้ช้ำ น้ำบ่เป็นตม
สุภาษิตพระร่วง
บุราณท่านว่าเขาขุดบ่อ     ล่อให้ปลาหลงไม่สงไสย
ยังไม่ค่อยประคิ่นประคองไว้            บัวในสระศรีมิให้ช้ำ
สายชลมิให้ข้นขุ่นมัว                         ตัวปลาปล่อยกินอยู่คลาคล่ำ
เมื่อเขาปล่อยเราไว้ยังไม่ทำ               เมื่อเขากลับจับจำก็จวนเจียน
เสภาขุนช้างขุนแผน

22. ปลาหมอตายเพราะปาก
ความหมาย พูดพล่อยไปจนตัวต้องเป็นอันตราย
ความเป็นมา มูลของสำนวนนี้มาจากปลาหมอ คือปลาหมอเวลาอยู่ใต้น้ำจะพ่นน้ำขึ้นมาเห็นปุด ๆ ที่ผิวน้ำ คนตกเบ็ดเห็นผิวน้ำเป็นฟองปุด ๆ ก็รู้ว่าที่ตรงนั้นมีปลาหมอ เอาเหยื่อล่อตกเบ็ดขึ้นมาได้ จึงพูดว่า ปลาหมอตามเพราะปาก
ตัวอย่าง
อนึ่ง เราเป็นคนที่ไม่ใช่นกแก้วนกขุนทอง อย่าปล่อยให้ใคร ๆ เอาของเหลวไหลมากรอกหูแล้วก็เก็บมาขยายโวขึ้นเลย จึงจำไว้ว่าปลาหมอตายเพราะปาก
ความเห็นรามจิตติ
23.ปากว่าตาขยิบ
ความหมาย ปากว่าใจตรงกัน คือทำเป็นทีพูดว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่กระพริบตาให้รู้ว่าแสร้งพูดแสร้งว่า ใจจริงแท้ไม่ได้มุ่งหมายให้เป็นอย่างที่พูด
ตัวอย่าง
ปากอย่าตาพริบเพื่อน       กลิ้งกลอกเกลื่อนเลียนใบบัว
คิดมาน่าใคร้หัว                                   มีผัวไพร่ใฝ่กลางสนาม
กาพย์ห่อโครงพระศรีมโหสภครั้งกรุงเก่า
24. พุ่งหอกเข้ารก
ความหมาย ทำอะไรชุ่ย ทำพอให้พ้นตัวไป ไม่คิดผลว่าจะเป็นอย่างไร สำนวนนี้ใช้กับคำพูดก็ได้ คือพูดชุ่ยส่งไปกระนั้นเอง
ความเป็นมา มีนิทานเรื่องหนึ่งเล่ากันว่า มีพรานคนหนึ่งถือหอกเดินไปตามทางในป่า พระสงฆ์รูปหนึ่งเดินส่วนทางมาเห็นพราานถือหอกเดินมาก็กลัวจึงหลบเข้าไปในพุ่มไม้ แล้วซุ่มเดินเล็ดลอดต่อมา เพื่อจะพรางพราน ฝ่ายนายพรานเห็นพระหลบก็เข้าใจว่าพระกลัวที่ตนถือหอก ก็พุ่งหอกเข้าไปเสียในรก บังเอิญหอกไปถูกพระตาย นิทานนี้ว่าเป็นมูลที่มาของสำนวนพุ่งหอกเข้ารก
ตัวอย่าง
พุ่งหอกเข้ารกแล้ว หลีกหนี้
ใจด่วนควรการดี บ่ได้
ผิดถูกไม่ทราบมี จิตต์มัก ง่ายนา
เอาแต่เสร็จการไซ้ ชุ่ยพ้นมือตน
โครงสุภาษิตเก่า
25. มือขวา
ความหมาย ถนัด สันทัด ทำได้ดี ในการกระทำ หรือพูดสิ่งต่าง ๆ ได้ดี
ความเป็นมา ตามธรรมดาคนเราถนัดข้างขวามากกว่ามือข้างซ้ายมือขวา
ตัวอย่าง
การเล่นเกมต่าง ๆ อย่างฝรั่ง ฟุตบอล ลอนเตนนิส คริกเก็ตกอลฟ เหล่านี้ ขอรับเป็นมือขวาของเธอทั้งสิ้น
รัตนทวารา

สำนวนที่เกิดจากอุบัติเหตุ
1. จี้เส้น
ความหมาย พูดหรือทำให้ผู้ดูผู้ฟังขบขันหัวเราะ เช่น ตลกจี้เส้น เป็นสำนวนใหม่พวกเดียวกันนี้ยังมีเส้นตื้นคือคนที่หัวเราะง่ายก็ว่าคนนั้นเส้นตื้น
2. ใจดีสู้เสือ
ความหมาย ทำใจให้เป็นปกติเผชิญกับสิ่งที่น่าหลัว
ตัวอย่าง
เราก็หมายมาดว่าชาติเชื้อ ถึงปะเสือก็จะสู้ดูสักหน
พระอภัยมณี
3. ดากแล้วมิหนำเป็นซ้ำเป็นสองดาก
ความหมาย มีเรื่องลำบากเกิดขึ้นหับตัว แล้วมีเรื่องลำบากเกิดขึ้นอีกซ้ำอีก ทำให้ลำบากมากขึ้น
ความเป็นมา มีนิยายเล่าว่า ยายแก่คนหนึ่ง เป็นโรคดาก วันหนึ่งออกไปส้วม ผีเด็กเห็นเข้าก็ฉวยเอาไปเล่น ยายแก่ดีใจที่หายจากโรคก็มาเล่าให้ยายแก่อีกคนหนึ่งฟัง แล้วก็ไปส้วมนั้น ผีเด็กก็นำดากมาคืนที่เก่า แต่กลับโดนยายคนที่2 ทำให้ยายคนที่2เป็นดากมากขึ้นกว่าเดิม
4. ดาบสองคม
ความหมาย สิ่งที่เราทำลงไปอาจให้ผลทั้งทางดี และทางร้ายได้
ความเป็นมา เปรียบเหมือนกับดาบ ซึ่งถ้ามีคมทั้งสองข้างก็ย่อมเป็นประโยชน์ใช้ฟันได้คล่องแคล่วดี แต่ในขณะที่ใช้คมข้างหนึ่งฟันลง คมอีกด้านหนึ่ง อาจโดนตัวเองเข้าได้ การทำอะไรที่อาจเกิดผลดีและร้ายได้เท่ากัน จึงเรียกว่า เป็นดาบสองคม
5. ดูตาม้าตาเรือ
ความหมาย พูดหรือทำอะไรก็ตาม ให้ระมัดระวังพินิจพิเคราะห์ ว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ข้างหลังบ้าง ไม่ให้ซุ่มซ่าม
ความเป็นมา มาจากการเล่นหมากรุก ซึ่งมีตัวหมากเรียกว่าม้าและเรือม้าเดินตามเฉียงทะแยงซึ่งทำให้สังเกตยาก ส่วนเรือเดินตายาวไปได้สุดกระดานเวลาเดินหมากอาจจะเผลอ ไม่ทันสังเกตตาที่ม้าอีกฝ่ายหนึ่งเดิน หรือไม่ทันเห็นเรืออีกฝ่ายหนึ่งที่อยู่ไกล เดินหมากไปถูกตาที่ม้าหรือเรือฝ่ายตรงข้ามสกัดอยู่ ก็ต้องเสียตัวหมากของตนไปให้คุ่แข่ง การดูหมากต้องดูตาม้าตาเรือของฝ่ายตรงข้าม เลยนำสำนวนนี้มาพูดกันเมื่อเวลาจะพูดหรือทำอะไรก็ตาม ให้ระมัดระวังพินิจพิเคราะห์ ว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ข้างหลังบ้าง ไม่ให้ซุ่มซ่าม
6. ตกกระไดพลอยโจน
ความหมาย พลอยประสมทำไปในเรื่องที่ผู้อื่นเป็นต้นเหตุก็ได้ หรือเป็นเรื่องของตนเอง ไม่เกี่ยวกับผู้อื่นก็ได้
ความเป็นมา เมื่อเห็นว่าจำเป็นต้องทำตามไป สำนวนนี้มีความหมายเป็นสองทาง ทางหนึ่งผู้หนึ่งผู้อื่นเป็นไปก่อนแล้วตัวเองพลอยตามเทียบตามคำในสำนวนก็คือว่า เห็นคนอื่นตกกระไดตนเองก็พลอยโจนตาม อีกทางหนึ่งไม่เกี่ยวกับคนอื่น ตนเองรู้สึกตนว่าถึงเวลาที่ตนเองจะต้องทำโดยที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ก็เลยประสมทำไปเสียเลย เทียบกับคำในสำนวนเทียบกับว่าตนเองตกกระไดแต่ยังมีสติอยู่ ก็รีบโจนไปให้มีท่าทางไม่ปล่อยให้ตกไปอย่างไม่มีท่า
ตัวอย่าง ในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนปลายงามเข้าหาศรีมาลา มีกลอนขุนแผนว่า
งองามก็หลงงงงวย           ไม่ช่วยไปข้างหน้าจะว้าวุ่น
ตกกระไดพลอยโผนโจนตามบุญ    ทำเป็นหุนหันโกรธเข้าพลอยงาม
7. ตกหลุม
ความหมาย ใช้พูดเมื่อ หกล้มคว่ำลงไปกับพื้น
ความเป็นมา สำนวนนี้มาจากการจับกบ ซึ่งรีบตะครุบไม่ทันให้กบกระโดดหนี พลาดท่าพลาดทางก็ล้มคว่ำลงไปกับพื้น ใครคว่ำหน้าลงไปจึงพูดว่าตะครุบกบบางครั้งก็พูดว่าจับกบ
8. บ่อนแตก
ความหมาย ใช้พูดเมื่อ มีคนทำการชุมนุมกันมากๆ หรือการมากินเลี้ยง เกิดเรื่องต้องทำให้หยุดชะงักเลิกไปกลางคัน
ความเป็นมา มาจากการติดบ่อนเล่นการพนัน ซึ่งมีคนมาเล่นกันมาก ขณะการเล่นก็ต้องมีการหยุดชะงักต้องเลิกไปกลางคัน เรียกว่า บ่อนแตก คำนี้เลยกลายมาเป็นสำนวน
9. ปราณีตีเอาเรือ
ความหมาย ช่วยด้วยความปราณี แต่กลับต้องถูกประทุษร้ายตอบ
ตัวอย่าง
เอออะไรมาเป็นเช่นนี้     ช่วยว่าให้ดีก็มิเอา
มุทะลุดุดันกันเหลือ                            ปราณีตีเอาเรือเสียอีกเล่า
สังข์ทอง พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2
8.ปัดขาเก้าอี้
ความหมาย เจตนาหรือแกล้งทำให้ผู้ครองตำแหน่งหรือหน้าที่อันใด ต้องเสียหรือพ้นจากตำแหน่งหน้าที่นั้นไป เก้าอี้ หมายถึง เก้าอี้ที่สำหรับนั่งปฏิบัติงานประจำ ปัดเก้าอี้ คือไม่ได้นั่งปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้อีก แล้ว
ตัวอย่าง
ในหนังสือนิพพานวังหน้า มีพระราชวิจารณ์ของรัชกาลที่ 5 ตอนหนึ่งว่า
เมื่อรวบรวมความลงก็ไม่ผิดกับชาววังน่าชั้นหลัง ๆ แลไม่ปองร้ายกันถึงจะหักกันลงข้างหนึ่ง เป็นแต่ประมูลอวดดีกันนินทากัน แตะตีนกัน ซึ่งนับว่าเป็นแบบอันไม่ไห้ความเจริญแก่แผ่นดิน
10. ผงเข้าตาตัวเอง
ความหมาย เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวเอง หรือเกิดเรื่องอะไรเกี่ยวกับตัวเองแล้วตัวเองไม่สามารถแก้ไขได้
ความเป็นมา คนที่มีความรู้ความคิดดี มีสติ ปัญญาเฉลียวฉลาด ทำอะไรให้ใคร ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ แต่พอมีปัญหาหรือมีเรื่องอะไร เกิดขึ้นกับตัวเอง กลับหมดปัญญาที่จะแก้ไข
11. เผลอเรอกระเชอก้นรั่ว
ความหมาย เลินเล่อ ไม่เอาใจใส่ระวังดูแลให้รอบคอบ
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากนิทานโบราณ ใน นนทุกปกรณัม เรื่องมีว่ามีพรานไปซุ่มช้อนปลากับภรรยา ภรรยานั้นเป็นกาลกิณีกระเดียดกระเชอก้นรั่วตามสามี สามีช้อนได้ปลามาใส่กระเชอ ภรรยาก็ไม่พิจารณา ปลาก็ลอดลงน้ำไป สามีไม่รู่ช้อนได้หลงใส่กระเชอไปเรื่อย ๆ ปลาก็ลอดไปหมดไม่เหลือ ระหว่างนั้นมีภรรยานายสำเภา เป็นหญิงดีมีสิรินั่งอยู่ท้ายเรือ เห็นปลาลอดลงน้ำก็ยิ้ม นายสำเภาเป็นกาลกิณี เห็นนางดูนายพรานแล้วยิ้มเข้าใจว่านางพอใจ พรานก็โกรธ จะให้นางไปเป็นเมียพราน ในที่สุดนายสำเภากับนายพรานก็ตกลงแลกเมียกัน เมียนายพรานมาอยู่กับนายสำเภา ทำให้พรานเจริญขึ้นเป็นเสนาบดีของพระเจ้าแผ่นดิน แล้วต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาแผ่นดิน นั่นคือใครที่ทำอะไรเผลอเรอเลินเล่อทำอะไรไม่รอบคอบก็พูดกันว่าเผลอเรอกระเชอก้นรั่ว
12. แผ่สองสลึง
ความหมาย นอนหงายแผ่ สำนวนนี้มักใช้กับคนที่ลื่น หกล้มลงไปนอนหงายแผ่
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากเงินเหรียญที่ใช้แทงถั่วโปตามโรงบ่อน บ่อนถั่วมีไม้ขอยาวปลายเป็นห่วงกลมสำหรับคล้องเงินที่คนแทง เวลากินก็คล้องเงินลากมา หรือเอาไปจ่ายคนที่แทงถูกก็ได้ เหรียญสลึงกับเหรียญสองสลึงเป็นเหรียญแบบติดเสื่อใช้ไม้ขอคล้องเกี่ยวไม่ติด นายบ่อนจึงทุบเหรียญสลึงกับเหรียญสองสลึงให้พับงอ ที่แบบแผ่ติดตามรูปเดิมไม่ค่อยมี ดังนั้นเมื่อพบสลึงกับเหรียญสองสลึง ให้พับงอสำหรับให้ไม้ขอได้ง่าย สำนวนแผ่สองสลึงแล้วเอามาใช้เป็นสำนวนพูด เมื่อใครลื่นล้มลงไปนอนแผ่ ก็พูดกันว่าลงไป แผ่สองสลึง
13. แพแตก
ความหมาย ญาติพี่น้องหรือคนที่เคยอยู่ร่วมกันกระจัดกระจายกันไป เช่นพูดว่าสิ้นผู้ใหญ่เสียคนก็เป็นแพแตก
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากแพไม้ที่มัดรวมกันเป็นแพ เช่นแพไม้สัก แพไม้รวก ฯลฯ หวายหรือเครื่องที่รัดขาด ไม้นั้นก็กระจายเพ่นพ่านไป เรียกว่า แพแตก สำนวนนี้ใช้กับคนที่อยู่ร่วมกันมากๆ
มึงจึงจ้วงจาบว่าหยาบคาย               แสนร้ายเหี้ยมเกรี้ยมไม่เจียมตัว
พลัดพ่อพลัดแม่เป็นแพแตก             กลับมาดันแดกเอาเจ้าผัว
บทละครรามเกียรติ์ของกรมพระราชวังบวรฯ
14. พูดจนโดนตอ
ความหมาย พูดเรื่องเกี่ยวกับผู้ใดผู้หนึ่งโดยไม่รู้ว่าผู้นั้นอยู่ในที่นั้นด้วยตอคือตอไม้ที่ตั้งโด่อยู่ในน้ำ หรือพื้นดินเรามักจะเอามาเปรียบกับคนที่ปรากฏอยู่เฉย ๆ เช่นพูดว่า นั่งเป็นหัวหลักหัวตอ
15. ม้าดีดกระโหลก
ความหมาย กิริยาท่าทางผลุบผลับกระโดกกระเดกลุกลน
ความเป็นมา คนที่มีกิริยาท่าทางผลุบผลับกระโดกกระเดกลุกลน มักใช้ว่าผู้หญิงที่ไม่เรียบร้อย จะลุกจะนั่งหรือเดินพรวดพราดเตะนั่นโดดนี่กระทบโน่นไปรอบข้างที่พูดว่าดีดกระโหลกฟังดูเป็นม้าดีดกระลาแต่ความจริงเปรียบเหมือนกิริยาของม้า คือม้าที่พยศมักจะมีกิริยาที่เรียกว่า ดีด กับ โขก อยู่ด้วยกัน
ตัวอย่าง
เหมือนม้าดีขี่ขับสำหรับรบ ทั้งดีดขบโขกกัดสะบัดย่าง
กลอนพระอภัยมณี
16. เรือล่มเมื่อจอด
ความหมาย ทำหรือปฏิบัติอะไรๆ ผ่านพ้นมาเรียบร้อย พอจะสำเร็จหรือพอเสร็จกลับเสียไม่สำเร็จไปได้
ความเป็นมา เปรียบเหมือนแจวพายเรือมาถึงที่หมาย พอจอด เรือก็ล่ม สำนวนนี้ใช้กับการพูดดีเรื่อยมา พอจะจบก็ลงไม่ได้เรือล่มเมื่อจอดมักจะมีต่อว่า ตาบอดเมื่อแก่
เรือ เทียบถึงท่าแล้ว           และมา
ล่ม ละลายโภคา                                  ชวดใช้
เมื่อหนุ่มเท่าชรา                                                 แสวงสิ่ง ใดเฮย
จอด จ่อจวนเจียนได้                           สิ่งนั้นศูนย์เสีย
โครงสุภาษิตเก่า



17. ล่มหัวจมท้าย
ความหมาย ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน ยากมีดีจนด้วยกัน ฯลฯ
ความเป็นมา สำนวนนี้มาจากเรือ ผัวเมียลงเรือไปค้าขาย ช่วยกนทำมาหากิน การไปเรือมักจะพูดกันว่า ผัวถือท้ายเมียถือหัว หรือผัวแจวท้ายเมียพายหัว เป็นการช่วยกัน เมื่อเรือล่มก็จมไปด้วยกัน จึงพูดกันว่า จมหัวจมท้าย
18. เลือดเข้าตา
ความหมาย มุ ทะลุ ดื้อทำไม่คิดถึงผลได้ผลเสีย
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากการชกมวย หรือการต่อสู้ เมื่อถูกต่อยหรือถูกตี ถูกฟันแทงแถวหน้าผาก หรือคิ้วแตกเป็นแผล เลือดไหลเข้าตา ก็เกิดมานะมุทะลุเข้าสู้อย่างไม่คิดชีวิต เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องมุมานะโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง
ตัวอย่าง
เสียพนันมากก็ยิ่งเล่นใหญ่ จึงควรพูดว่า เลือดเข้าตา
19. วัดถนน
ความหมาย หกล้มราบลงไปกับพื้น
ความเป็นมา เมื่อหกล้มราบลงไปกับพื้น แล้วจะใช้พูดล้อคนที่ล้มว่าลงไปวัดถนนว่ากว้างยาวเท่าไหร่
20. วิ่งเป็นไก่ตาแตก
ความหมาย ซุกซน ดั้นด้นไปอย่างงมงาย
ความเป็นมา ซึ่งมาจากการเล่นชนชนไก่ ไก่ที่ถูกคู่ชนแท่งด้วยเดือยจนตาแตกไม่เห็นอะไร มักจะวิ่งหนีซุกซนไปทั้ง ๆ ที่ไม่เห็นทาง
ตัวอย่าง
ในพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 5 ถึงเจ้าพระยาธรรมา ฯ แห่งหนึ่งว่า
ไปด่วนหักโหมเอางาใหญ่ ๆ ดีๆ กลึงเสียถ้าต่อไปมันดีขึ้นจะต้องวิ่งหางาตาแตก
21. สี่ตีนยังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
ความเป็นมา คำว่า สี่ตีน โบราณหมายถึงช้าง ในเรื่องนางนพมาศว่าถึงบุราณท่าว่าคชสารสี่ตีน ยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้ล้ม ใครอย่าได้ประมาท คำอันนี้ก็เป็นจริงเพราะว่าช้างเวลาก้าวเท้าจะก้าวหนักมั่นคงมากกว่าสัตว์อื่น ๆ
ตัวอย่าง
สี่ตีน     คือช้างใหญ่          เยี่ยมเขา
ยังพลาด                พลิกแพลงเบา      บาทเท้า
นักปราชญ์            อาจองเอา              อรรถกล่าว ได้นา
ยังพลั้ง                   พลาดขาดค้าง       อย่าอ้างอวดดี
โครงสุภาษิตเก่า
22.หัวชนกำแพง
ความหมาย สู้ไม่ถอย สู้จนถึงที่สุด ฯลฯ ไปติดกับกำแพงไปไหนไม่ได้ ก็ยังสู้
ตัวอย่าง
บทละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศร์ ฯ
น้อย ฤแนะ เป็นไรมีล่ะ คงได้ดูดีหรอก เล่นกะมันจนหัวชนกำแพงซีน่ะ
23. หัวราน้ำ
ความหมาย เมาเต็มที่
ความเป็นมา สมัยก่อนไทยเรามีการคมนาคมทางน้ำเป็นสำคัญใช้เรือ เป็นพาหนะทั้งในธุรกิจติดต่อค้าขาย ตลอดจนการเล่นรื่นเริงต่าง ๆ ในการเล่น
ตัวอย่าง
แข่งเรือ คนในเรือมักจะกินเหล้าเมามายกันเต็มที่แรงตัวไม่อยู่ หัวลงไปราอยู่กับพื้นน้ำ จึงเกิดเป็นสำนวนขึ้นมา
24. หัวหกข้นขวิด
ความหมาย ทำอะไรแผลงๆ ทำอะไรโลดโผน ไม่ได้รักษากิริยามารยาท ทำตามใจชอบ
ตัวอย่าง
เป็นการกินสำหรับเกียรติยศ จะหยิบฉวยอะไรแต่ละทีง้างมือไม่ค่อยถนัด สู้กินกันตามธรรมดาอย่างบ้านของตัวเองไม่ได้ หัวหกข้นขวิดก็ไม่ต้องเกรงใจใคร
ละคอนไทยไปอเมริกา
25. โอษฐภัย
ความหมาย พูดไม่ดีจะเป็นภัยกับตัวเอง เป็นภัยที่เกิดจากปาก ส่วนใหญ่มุ่งไปถึงการพูดที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง การดูหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ การพูดเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล

สำนวนไทยเกิดจาก แบบแผนประเพณี
1. กินขันหมาก - ได้แต่งงาน อย่างมีหน้ามีตา
ความเป็นมา สำนวนนี้มาจากประเพณีสู่ของแต่งงานของไทยที่มีมาแต่โบราณดึกดำบรรพ์ คือการสู่ขอผู้หญิงมาเป็นภรรยา ผ่ายชายต้องจัดขันใส่หมากไปหมั้นชั้นหนึ่งก่อน เรียกว่าขันหมากหมั่นถึงกำหนดขันแต่งงานก็ได้ของไปอีก มีเป็นสองอย่าง คือ ขันใส่หมากพลู ข้าวสารกับเตียบ(ตะลุ่มหรือโต๊ะ) ใส่ห่อหมก หมูต้ม ขนมจีน เหล้าอ้อย มะพร้าวอ่อน ฯลฯ เรียกว่าขันหมากดังกล่าว ผ่ายหญิงรับไว้สำหรับเลียงแขกและแจกจ่ายชาวบ้าน เพื่อแสดงว่า มีบุตรสาวได้แต่งงานเป็นหลักฐาน ใครที่มีบุตรได้แต่งงานจึงชื่อว่ากินขันหมากซึ่งหมายถึงได้กินของซึ่งเรียกว่า ขันหมากเอก ขันหมากเลวนั้น สุนทรภู่ว่าไว้ในสุภาษิตสอนหญิงว่าท่านเลี้ยงมาว่าจะให้เป็นหอห้องหมายจะกองทุนสินกินขนมนี้ก็หมายถึง กินขันหมาก เนื่องจากแต่งงานบุตรีนั้น ในกฏหมายลักษณะผังเมียที่มีมาตั้งแต่แผ่นดิน พระเจ้าอู่ทองมีมาตรา หนึ่งว่าผู้ใดไปสู่ขอลูกสาวหลานสาวท่าน บิดามารดาญาติแห่งหญิงตกปากให้ได้กิน ขันหมากท่านแล้วนี้แสดงว่าดำกินขันหมากเป็นสำนวนเก่าแก่ ที่สุดของไทย
ตัวอย่าง
ถึงตกทุกข์บุกไพรได้ความยาก แต่ได้กินขันหมากเป็นสองหน
ไชยเชษฐ์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
2. กินถ้วย
ความหมาย กินเลี้ยงในงานที่มีการเลี้ยงแขก
ความเป็นมา ในสมัยโบราณเวลามีงานใหญ่และเลี้ยงแขกที่มาในงาน เสร็จอาหารของลาว แล้วจึงตอนของแทน จะมีของหวานสี่อย่าง สำหรับกินกับน้ำเชื่อมบ้าง หรือใช้ของอย่างอื่นบ้าง แต่ก็มีสี่อย่างเสมอ ของสี่อย่างนี้ มีคำ เรียกกัน เล่นๆ ว่า ไข่กบ นกปล่อย นองลอย อ้ายตื้อ ไข่กบ คือแมงลัก นกปล่อย คือ ลอดช่อง นางลอย คือข้าวตอก อ้ายตื้อ คือ ข้าวต้มน้ำวุ้น การเลี้ยงแขกที่มีของสีอย่างนี้ คือกันเป็นงานใหญ่ ใครเป็นแขกไปรวมงานและกินเลี้ยงก็เรียกว่า กินสี่ด้วย
3. แก้เกี้ยว - พูดแก้ให้เกี่ยวข้องอยู่ในเรื่อง
ความหมาย พูดแก้ตัว หมายถึงพูดแก้ไปอย่างอื่น แต่แก้เกี้ยวหมายถึงพูดแก้ให้เกี้ยวข้องมัวพันอยู่ในเรื่องที่พูดกัน สำนวนนี้ดูท่าทางจะมาจากการเล่นเพลง ซึ่งชายหญิงร้องเกี้ยวแก้กัน
4. เข้าตามตรอกออกตามประตู
สำนวนนี้แปลไปได้สองนัยหนึ่งแปลตามตัวที่ว่าเข้าตามตรอกก็ หมายความว่าเวลา จะไปหาใครที่ไม่คุ้นเคย ให้ดูลาดเลา เลียมเคียงเข้าไปก่อนเช่น บ้านเขามีประตูเล็ก หรือมีทางสำหรับ เข้าออกอีกต่างหากก็ให้เข้าทางนั้น ไม่ควรจะเข้าทางประตูใหญ่ทีเดียว เมื่อเสร็จธุระแล้วเวลาจะออกก็ออกทางประตูใหญ่ได้แปลว่า ทำอะไรให้รู้การเทศะ อีกนัยหนึ่งเข้าตามรอกคำตรอกเป็นแต่เพียงพูดให้คล้อง ของกับออกส่วนความหมาย สำคัญอยู่ที่ประตูคือ ให้เข้าออกทางประตูตามที่มีอยู่ ซึ่งแปลว่า ทำอะไรให้ถูกต้องตามธรรมเนียมแต่อย่างไรก็ตามความหมายของสำนวนนี้ก็ลงกันในข้อที่ว่า ให้รู้จักทำให้ถูกต้องเหมาะสม
5. ครอบ
ความหมาย สอนวิชา ความรู้
ความเป็นมา คำว่าครอบมาจากพิธีครอบโขนละครซึ่งทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือ ผู้ฝึกหัดเป็นตัวโขนตัวละครรำ เมื่อหัดรำจนรำเพลงช้าเพลงเร็วได้ดีแล้ว ครูอาจารย์ก็จัดทำพิธี ครอบให้ พิธีมีหลายระยะแต่ที่สำคัญก็คือ ครุซึ่งแต่งตัวเป็นฤาษีออกครอบศีรษะ ให้ศิษย์ แล้วเอาหัวโขนอื่นๆ มีหัวพระอิศวร หัวพระพิรามฯลฯ ครอบเป็นลำดับไปเสร็จพิธีแล้วศิษย์ที่ครูครอบให้นั้นก็นับว่า เป็นตัวโขนตัวละครออกโรงเล่นได้ สรุปความว่าครอบคือครอบหัวโขนที่ครูใช้ศิษย์ แสดงว่าศิษย์นั้นความรู้วิชา รำดีแล้ว ต่อมาเราเอาคำครอบนี้ใช้พูดเป็นสำนวนหมายถึงสอนอะไรให้ทุกอย่างครอบเป็นสำนวนใช้คู่ขับขึ้นครูจึงหมายความเรียนใครครอบให้หมายความว่าใครสอนให้ขึ้นครูแล้วหรือยังหมายความว่าเรียนจากครูแล้วหรือยัง
6. คู่เรียงเคียงหมอน
ความเป็นมา เป็นสำนวนที่ตามประเพณี แต่งงานของไทย ที่มีมาแต่โบราณ เมื่อรดน้ำคู่บ่าวสาวเสร็จแล้วก็มีการส่งตัวเจ้าสาวที่เรือนหอ มีฤกษ์ เรียกว่าฤกษ์เรียงหมอนคือปูที่นอน จัดหมอนสำหรับเจ้าบ่าวเจ้าสาววางเรียงเคียงคู่กันคู่เรียงเคียงหมอนจึงเป็นสำนวน หมายถึงความเป็นสามีภรรยากัน
ตัวอย่าง
คู่บรรทมบรรจถรณ์นิทร์ ขนิษฐ์คู่เขนยทอง
คู่พักตร์คู่พจนสนอง                                           สูขคู่เขษผสม
สรรพสิทธ์คำฉันท์ของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ
7. ทำมิ่งสิ่งขวัญ
ความหมาย ทำขวัญ คือทำพิธีของให้มิ่งขวัญในตัวอยู่มั่นคง และเจริญ
ตัวอย่าง
น้ำไหลไฟดับ     มาพบสบพับ        โฉมยงทรงใน
ทำมิ่ง สิ่งขวัญ                      แพทย์พราหมณ์ครมครัน
ตั้งเตียงเรียงไร                     ตามไต้ให้ไฟ        จึดเทียนเวียนไป
ธารทรงสรงสนาน
กาพย์ขับไม้ พระรถ
8. นอกรีด
ความหมาย ประพฤติผิดไปจากแบบแผนขนมธรรมเนียมประเพณี
ตัวอย่าง
ขอโทษโปรดเถิดพระมุนี                อะไรนี่นอกรีดมากีดขวาง
ผัวท่านจะคลึงเคล้าเข้าหยกนาง                       ห้องกลางเปล่าอยู่นิมนต์ไป
คาวีพระราชานิพนธ์รัชกาลที่ 2
9. บอกแขก
ความหมาย บอกคนทั้งหลายให้รู้ เพื่อให้มาช่วยเหลือทำการงานต่างๆ
ตัวอย่าง
แล้วบิดามารดาเจ้าบ่าวเจ้าสาว ก็จัดแจงแต่งสำขันคาวหวาน ยกไปให้ตราพวกญาติพี่น้อง และพระหลวงขุนหมื่นแลกรมการผู้มีบรรดาศักดิ์ การบอกแขกช่วยทำการวิวาห์มงคลตามสมควรทั้งสองฝ่าย
ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่2
10.ปลูกหอ ลงโรง
ความเป็นมา แต่งงานปลูกหอหมายถึงปลูกเรือนหอซึ่งตามประเพณีไทยต้องมีเรือนหอ สำหรับคู่บ่าวสาวที่จะกินอยู่ด้วยวันเป็นหลักฐานลงโรงหมายถึง ทำงานเป็นพิธีใหญ่โต มีปลูกโรงรับงานใหญ่โตออกหน้าออกตา เพลงฉ่อย สมัยเก่ามีร้องกันที่เบารักกันหนาที่เขาพากันหนี ที่เขามั่งเขามีถมไปที่ปลูกหอลงโรง ฉิบหายตายโรงนั่นเป็นไร
ตัวอย่าง
บ้านเมืองในสมัยที่ยังไม่เจริญเปรียบ เหมือนบ้านเรา เมื่อแรกปลูกหอลงโรง บ้านเมืองในสมัยที่เจริญขึ้นแล้ว เปรียบเหมือนบ้านเรา เมื่อเกิดลูกครึ่งโหลไปแล้ว
เรื่อง เศรษฐวิทยาของครูเทพ
11. ไปวัดไปวาได้
ความเป็นมา สมัยก่อนวัดเป็นที่พึ่งของประชาชน ชายหญิงไปชุมนุมกัน เช่นงานสงกรานต์เทศน์มหาชาติ ทองกฐิน ฯลฯ เป็นที่เข้าสังคมออกหน้าออกตาอวดกัน หญิงสาวที่มีรูปร่างหน้าตาดี พอจะอวดได้จึงพูดเป็นสำนวนว่าไปวัดไปวาได้
ตัวอย่าง
แม่เฉลาน่ะเป็นที่พอใจเธอละฤา
เรี่ยมทีเดียวก็พอไปวัดไปวาได้ไม่อายเขาแต่น่ากลัวคุณพ่อจะไม่เป็นที่พอใจ
บทละครพูด ทาโล่ห์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6
12. ไปไหว้พระจุฬามณี
ความหมาย ตาย
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากพิธีศพคนตาย มีอาบน้ำศพ ตราสังแล้วทำกรวยใส่ดอกไม่รูปเทียนให้ศพคนตายในมือสำหรับไปใหว้พระจุฬามณีบนสวรรค์
13. ผัดเจ้าล่อ
ความหมาย ผัด หรือ ผัดเพียน คือ เลื่อนเวลาไป
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากการล่อช้าง ผัดช้างรบที่เรียกว่าผัดพานและล่อแพนผัดพานมีคนถึงผัดล่อให้ช้างไล่ ล่อแพนมีคนขี่ม้าล่อให้ช้างไล่ สมัยก่อนมีในงานพิธีแห่ สระสนาน คือ เดินกระบวนช้างม้า แล้วก็ผัดพานล่อแพง คำที่เรียกการล่อช้างว่าผัดเป็นคำเดียวกับผัดเลื่อนเวลา เราจึงเรียกว่าการผัดเลื่อนเวลาเป็นสำนวนว่าผัดเจ้าล่อใช้ได้ตลอดจึงการผัดเพี้ยนอะไร ๆ พอให้พ้นไป
ตัวอย่าง
เจ้าอีกรับแล้วยังเลี่ยงไม่เที่ยงธรรม์                เพราะสำคัญหลายอย่างแต่พรางเรา
บอกเท่าไรว่าให้เจ้าเราจริงแจ้ง                                         นิ่งเสียแกล้งผัดเจ้าล่อพอรู้เท่า
เพลงยาวกรมหมื่นสถิตย์

14.ฝังรกฝักราก
ความหมาย ตั้งหลักแหล่งหรืออยู่ที่ใดที่หนึ่งถาวร
ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากพิธีฝักรกของทารก ในสมัยโบราณ คือ เมื่อทารกคลอดแล้ว บิดามารดาเอารกของทารกนั้นใส่หม้อตาลไว้เอาเกลือโรยบิดหน้าถึง 3 ขัน ก็ทำพิธีฝักของที่จะเข้าพิธีมีมะพร้าวแตกหน่อ 2 ผล นำไปฝัง ณ บริเวณบ้านที่ดินที่ฝังรกกับมะพร้าวนั้นนเป็นที่ที่บิดมารดากะไว้จะให้เป็นของบุตรสืบไป เช่นเมื่อโตขึ้นจะแต่งงานก็ปลูกเรือนหอ หรือเรือนที่จะเป็นที่อยู่อาศัย ตรงที่ฝักรกมีต้นมะพร้าวขึ้นนั้นเป็นที่ตั้งตัวเป็นหลักแหล่ง สื ประเพณีนี้จึงเกิดคำว่าฝักรกฝังรากขึ้นฝังรกก็คือ ฝักรกตรงๆฝักรากหมายถึงฝัง หรือปลูกมะพร้าวแตงหน่องอกรากตัดตันเป็นยึดมั่น สำนวนปลูกฝังหมายถึง ทำให้เป็นหลักฐานที่มั่นคง
15. พิธีรีตอง
เป็นสำนวนที่มีความหมาย 2 อย่าง
1. พิธีนั้นเอง เช่น พิธีบวชนาค
2. การกระทำอะไร ๆ ก็ได้ที่มีบทบาทมาก ในภาษาไทยมักจะมีคำต่อท้ายที่เรียกว่าสร้อยคำอยู่มาก สร้อยคำลางทีก็มีความหมายอย่างรีตอง
ความเป็นมา อาจจะมาจากที่ต้องใช้ใบตองมากก็ได้ เลยพูดกันมาถึงปัจจุบัน ซึงหมายถึงพิธีนั่นเอง แล้วร่วมไปถึงใช้กับการกระทำอะไร ๆ ที่กระทำเป็นบทบาทมาก ชักช้ายืดยาด
16. ไม่รู้จักหม้อข้าวหม้อแกง
ความหมาย ยังไม่เป็นการบ้านการเรือน ไม่รู้จักทำงานบ้าน ยังไม่เป็นบ้านแม่เรือน สำนวนนี้ใช้กับหญิงสาว
ความเป็นมา ประเพณีไทยมีการให้เด็กสาวเข้าครัว ฝึกทำอาหาร แปลว่าให้รู้จักหม้อข้าวหม้อแกงๆไว้ คือรู้ว่าหุงข้าวและทำกับข้าว
ตัวอย่าง
แม่น้อย ฉันก็ทราบแล้วจ๊ะ แต่ข้างลูกสาวฉันนั้นใจมันยังเป็นเด็กนัก ไม่เป็นหม้อข้าวหม้อแกงอะไรได้เลย จะไปเป็นแม้เหย้าแม่เรือนยังไงได้
17. ไม่เสียปีเสียเดือน
ความหมาย จัดทำหรือปฏิบัติไปตามธรรมเนียม เมื่อถึงคราวหรือถึงเวลา หรือถึงกำหนดที่ควรทำ แปลว่า ไม่ให้ปีเดือน ที่ผ่านมาถึงนั้นต้องว่างเว้นไปเปล่า ๆ




18. แย่งกันเป็นศพมอญ
ความหมาย แย่งชิงสิ่งของกันชลมุนวุ่นวาย
ความเป็นมา มูลของสำนวนนี้มาจากประเพณีทำศพของมอญมีปรากฏในเรื่องราชาธิราชว่า พระเจ้าหงสาวดีมหาปิฎกธร ทำศพพระราชมารดาเลี้ยง เช่น ของใช้ขอทานของแจงตลอดจน ฟ้องร้องชิงมรดกกันยุ้งเหยิง จึงพูดกันเป็นสำนวนว่าแย่งกันเป็นศพมอญ
19. ร้องเพลงในครัวได้ผัวแก่
ความเป็นมา ตามแบบธรรมเนียมไทยโบราณ หญิงสาวต้องเข้าครัวฝึกหัดหุงข้าวต้มแกง อาหารต่าง ๆ ให้เป็นเวลาเข้าครัวเป็นเวลาทำงาน ใครร้องเพลงในครัวจึงมีคำผู้ใหญ่ว่าร้องเพลงในครัวได้ผัวแก่เวลาเข้าครัวจะได้ตั้งหน้าตั้งตาทำงาน ไม่ร้องเพลงเล่น
20. ฤกษ์งามยามดี
ความหมาย เวลาดี เวลาเหมาะ เวลาสมควร โอกาส ฯลฯ
ความเป็นมา มูลของสำนวนนี้มาจากตำราโหราศาสตร์มที่มีวิธีคำนวณดูวันเวลาฤกษ์ยามที่เหมาะเป็นชัยมงคลสำหรับทำการงานต่าง ๆ
ตัวอย่าง
สัญญากันตกลง สองสหายคอยถึงวันฤกษ์งามยามดีแต่งตัวออกจากบ้าน
นิยายเบงคลี
21. ลงขัน
ความหมาย ช่วยกันออกค่าใช้จ่าย
ความเป็นมา ลงขันเป็นประเพณีให้ของขวัญแบบโบราณ เช่น ในงานโกนจุกมีการเอาขันเชิงมาตั้งสำหรับญาติพี่น้อง แขกที่ไปร่วมงานเอาเงินหรือสิ่งของเครื่องรูปพรรณใส่ลงขัน เป็นการทำขวัญเด็กโกนจุก เรียกว่า ลงขัน ในประกาศรัชกาลที่5 เรื่องสมโภชรับพระสุพรรณบัตรมีความตอนหนึ่งว่า ส่วนซึ่งสมโภชใช้แรงกันในส่วนเฉพาะพระองค์ ๆ ก็คงจะมีกันอยู่ได้เป็นการเหมือนลงแขกกันในส่วนพระองค์ นี้ก็คือถวายของขวัญ ประเพณีลงขันปัจจุบันนับว่าหมดไป แต่มีการให้ของขวัญอย่างที่นิยมทำกันทุกวันนี้
22. ลงแขก
ความหมาย ขอแรงคนให้ช่วยทำงาน
ความเป็นมา สำหรับสำนวนนี้ใช่สำหรับงานอะไรก็ได้ แต่ที่ใช้กันส่วนมาเป็นการทำนาเกี่ยวข้าว คือข้าวนาในสุกแล้วเกี่ยวคนเดี่ยวไม่ไหว ก็เลยต้องขอแรงจากเพื่อนบ้าน แล้วพลัดกัน เขามาช่วยเรา และเราก็ไปช่วยเขา เป็นธรรมเนียมเรียกว่าลงแขก
ตัวอย่าง
เวลานั้นจำเลยกับพวกกำลังเลี้ยงสุราอาหารกัน เพราะจำเลยลงแขกเอาแรงกันช่วยมุงหลังคาเรือนมารดาจำเลย
โวหารกรมสวัสดิ์คำพิพากษาศาลฎีกา
23. วุ่นเป็นจุลกฐิน
ความเป็นมา จุลกฐิน คือ การทอดกฐินโดยวิธีจัดทำเครื่องกฐินเอง เริ่มจากเก็บฝ้ายจากไร่ของตน เอามาปั่นและทอเป็นผืนผ้า ตัดเย็บเป็นสบงจีวร ย้อมแล้วเข้าไตร
ตัวอย่าง
หลังจากที่ได้สิ้นสุดชุดการแสดงแล้ว จึงต้องรีบลงมือทำงานจัดเข้าของลงหีบเหมือนจุลกฐิน การโยกย้ายของเราแต่ละทีมักช่างทุลักทุเลเสียจริง ๆ ต้องทำงานแข่งกับเวลาเสีย ตะบมไปทุกนัด พอดีพอร้ายแทบต้องหายใจทางปาก
ละคอนไทยไปอเมริกัน
24. สิบเบี้ยขายไม่ขาด
ไม่มีดี ไม่มีค่า เลวทรามต่ำช้า หาอะไรดีไม่ได้ มูลของสำนวนมาจากสมัยโบราณมีประเพณีขายคน เช่นขายให้ไปเป็นทาส ในกฎหมายลักษณะทาสครั้งพระเจ้าอู่ทองมาตราหนึ่งว่า
ผู้ใดขาดแคลนมีอาสน เอาพี่น้องลูกหลานญาติไปขายฝากประจำเชิงกระยาเบี้ย 2 แสน 3แสนขึ้นไป ให้ค่อยใช่ค่อยสอยอย่าให้ทำร้ายแก้ผู้คนท่าน
หมายความว่า มีราคาหรือค่าตัว 2 แสน หรือ 3แสน เบี้ย การขายอาจจะมีราคามากหรือน้อยก็แล้วแต่ฐานะบุคคล ดีก็ขายได้แพง ไม่ดีก็ถูก
25.เออนอห่อหมก
ความหมาย รับคำด้วยดี ตกลงด้วยดี
ความเป็นมา สำนวนนี้มาจากประเพณีแต่งงานในวันสุกดิบ คือวันก่อนฤกษ์แต่งงาน ฝ่ายชายจะต้องจัดผ้าไหว้และขันหมากไปบ้านเจ้าสาว ขันหมากมี 2 อย่าง เรียกว่าขันหมากเอกกับขันหมากเลว ขันหมากเอกจะมีข้าวสาร หมากและพลู มีเตียบ คือตะลุ่มใส่หมากพลู หมูต้ม ห่อหมก ขนมจีน ขันหมากเลวมีขนมกับลูกไม้ต่าง ๆ ห่อหมก เป็นของสำคัญที่ขาดไม่ได้ ทั้งสองคำรวมกัน จึงหมายถึง ทั้งสองฝ่ายตกลงด้วยดี รับคำด้วยดี
ตัวอย่าง
ในกระบวนการที่พรรณนาถึงพระเดชพระคุณทูลกระหม่อม ยังมีอีกมาก แต่จะหาใครรับเออนอห่อหมกเป็นพยานก็ไม่มีตัวเสียแล้ว
พระราชหัตเลขารัชกาลที่5 ถึงสมเด็กรมพระยาวชิรญาณฯ

สำนวนไทยเกิดจากความประพฤติ
1. กินข้าวร้อนนอนสาย
กินข้าวร้อน หมายถึง กินข้าวหรืออาหารที่ปรุงแล้วเสร็จกำลังร้อน นึกจะกินร้อน ๆ เมื่อใดก็ได้ นอนสายหมายถึง ตื่นนอนเมื่อใดก็ได้ ทั้งสองคำนี้รวมกัน หมายถึงบุคคลชั้นขุนมูลนายที่ทำงาน อย่างอิสระแก่ตน ผิดกับคนชั้นที่ต้องอยู่ในบังคับ ซึ่งนอนสายไม่ได้ และกินก็ไม่สะดวก ถึงเวลาจะกินไม่ได้กินทันที กว่าจะได้กินอาหารเย็นจืดไม่มีรส ส่วนคนที่มีอิสระ นึกจะกินก็ได้กินทันที จะตื่นเมื่อใดก็ได้
2. ข้านอกเจ้า ข้าวนอกหม้อ
การกระทำหรือประพฤติอะไรนอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างธรรมเนียม สำนวนนี้ใช้หมายความถึงการแอบอ้างตนว่าเกี่ยวข้องกับผู้สู้ศักดิ์ หรืออะไรอย่างใดอย่างหนึ่งให้คนหลงเชื่อ
กาลแต่ก่อนเจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนักครั้นภายหลัง เจ้านายมากขึ้นก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้า เข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น
พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ 4
3. ข้าวแดงแกงร้อน
ข้าวแดงเป็นข้าวที่สีด้วยมือ ไม่ขัดจนเป็นสีขาว เพราะในสมัยโบราณยังไม่มีดรงสี คนทั่วไปจึงกินข้าวแดงกัน ถ้าจะกินข้าวขาว คือข้าวที่ขัดจนขาว แต่เฉพาะคนชั้นสูงที่อยู่ในวัง และบ้านที่ใหญ่ ๆ โต ๆ ข้าวแดงแกงร้อนหมายถึง บุญคุณ คือเมื่อกินข้าวของผู้ใดก็ต้องคิดถึงบุญคุณของผู้นั้น
ตัวอย่าง
อนึ่งนายมีคุณอันสุนทร เพราะข้าวแดงแกงร้อนได้กินมา
ทุคคตะสอนบุตร
4. คดในข้องอในกระดูก
คือ คนที่มีสันดานคดโกง
5. คบพาลพาลพาไปหาผิด
สำนวนนี้มีความหมายอยู่ในตัวของสำนวนอยู่แล้ว และมักจะมีคำต่อท้ายว่า คบบัณฑิตพาไปหาผล
6. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
มีวิชา มีความรู้ทุกสิ่งทุกอย่างแต่ตั้งตัวให้เป็นหลักฐานไม่ได้ หรือเมื่อคราวที่มีเรื่องเกิดขึ้นกับตัวเอง กลับไม่มีปัญญาที่จะแก้ไขให้ตัวเองรอดพ้นมาได้
7. คางคกขึ้นวอ
คนชั้นต่ำที่ไม่เคยมี ไม่เคยได้สิ่งที่ตัวเองคาดหมายไว้ แล้วกลับมามีมาได้ขึ้นมา ก็แสดงกิริยาให้เห็นว่าเห่อต่าง ๆ



8. ได้แกง เทน้ำพริก
ได้ของใหม่อะไรแปลก ๆ มาก็ทิ้งของเก่าที่มีอยู่เป็นประจำ น้ำพริก นั้นเป็นของประจำสำหรับการทำข้าวของคนไทยมาแต่สมัยโบราณ กับข้าวอื่นอาจจะเปลี่ยนไปต่าง ๆ อย่างนั้นอย่างนี้บ้าง แต่น้ำพริกก็ยังคงอยู่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
9. ถลุง
ใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สมบัติหรือสิ่งของอย่างหนึ่งอย่างใดหมดสิ้นไปอย่างเหลวแหลกในเวลาอันรวดเร็ว สำนวนนี้เอาการหลอมเหล็กให้ละลายมาเปรียบ
ตัวอย่าง
ข้าคงไม่ได้เงินคืนอีกแล้ว อะไรถลุงเสียได้ถึงแปดสิบเหรียญในพักเดียว แปดสิบเหรียญ
วานิสวานิช พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2
10. เถนตรง
ซื่อหรือตรงจนเกินไป ไม่คิดถึงอะไรควรจะเป็นอย่างไรจึงจะเหมาะสมหรือดี ลักษณะของเถนตรงอาจเกินจากความเขลา ความคิดไม่ถึง หรือความไม่เฉลี่ยวอย่างไรก็ได้ แปลว่าไม่มีไหวพริบ
11. นกสองหัว
คนกลับกลอกโลเล ทำตนเข้าด้วยทั้งสองฝ่าย ไม่มีอุดมคติมั่นคง เหตุที่เอานกมาเปรียบก็เพราะว่า สมัยก่อนเคยเรียกหญิงงามเมือง (นครโสเภณี) หรือหญิงที่หากินอย่างนี้ว่า นก เมื่อพูดว่า นก ก็เป็นอันว่ารู้กัน
ตัวอย่าง
เหม่อ้ายเชียงทองจองหองเอา        ลงไปเข้ากับไทยช่างไม่กลัว
แต่ก่อนนั้นมันขึ้นแก่เรานี้                                 ถือดีหยิ่งยกนกสองหัว
เสภาขุนช้างขุนแผน
12. นอนกินบ้านกินเมือง
นอนหลับจนสายแล้วยังไม่ตื่น สำนวนนี้เอาขุนนางที่เป็นเจ้าเมืองมาเปรียบ นอนอย่างเจ้าเมือง ซึ่งหมายถึงว่าถ้าเป็นขุนนางที่ใหญ่โตแล้วมักจุนอนตื่นสาย
13. บทบาทมาก
มีกิริยาท่าทางมาก จะทำอะไรสักอย่างก็ช้ายืดยาด ไม่เสร็จสักที มูลของสำนวนมาจากละครรำมีกระบวนลีลาท่าทางมากตามศิลปะของการรำ เรียกว่ามีบทบาทมาก เราเอามาใช้กับคนธรรมดาที่ทำอะไรช้ายืดยาด
14. บอกยี่ห้อ
แสดงท่าทีหรือคำพูดให้รู้ว่ามีลักษณะหรือนิสัยสันดานอย่างไร เช่น แต่งตัวบอกยี่ห้อนักเลง หมายความว่าแต่งตัวแสดงว่าเป็นนักเลง
15. บ้าบิ่น
บ้าบิ่นเป็นชื่อขนมชนิดหนึ่ง คนที่มุทะลุบ้าระห่ำ พูดหรือทำอะไรอวดดีไม่เข้าเรื่องเรียกกันว่า บ้าบิ่น
16. ปากปลาร้า
ชอบพูดติฉินนินทาว่าคนหยาบ ๆ ไม่น่าฟัง สำนวนนี้เอาปลาร้ามาเปรียบ
17. ผักชีโรยหน้า
ทำอะไรแต่เพียงเล็กน้อยเป็นการฉาบหน้าเพื่อจะลวงให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เรียบร้อยสมบูรณ์ หรือทำเพียงผิวเผินฉาบหน้าชั่วคราวให้เห็นว่าดี สำนวนนี้มักพูดในทางที่ไม่ดี แต่ลางทีใช้ในทางดีก็ได้
ตัวอย่างเช่น ในนิราศภูเขา ทองรำพัน ของสุนทรภู่
ใช่จะมีที่รักสมัคมาด        แรมนิราศสร้างมิตรพิศมัย
ซึ่งครวญคร่ำทำทิพิรี้พิไร                   ตามนิสัยกาพย์กลอนแต่ก่อนมา
เหมือนแม่ครัวคั่วแกงพะแนงผัด     สารพัดพยัญชนังเครื่องมังสา
อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา       ต้องโรยหน้าเสียสักหน่อยอร่อยใจ
18. ผ่าเหล่า
มีนิสัย สันดานหรือความประพฤติ ผิดแผกแตกต่างไปจากเชื้อสายวงศ์ตระกูล เหล่าคือ เทือกเถาเหล่ากอ สำนวนนี้บางทีก็พูดว่า ผ่าเหล่าผ่ากอ
ตัวอย่าง
เงินดำพิรุธ ปลอมซื้อปลอมขาย ให้ท่านฉิบหาย กินสบายแต่เองใช่ลูกพระเจ้า ผ่าพวกผ่าเหล่า เขานี้เป็นลูกนักเลง
ประดนธรรมความเก่า
19. ผ้าผับไว้
กิริยามารยาทเรียบร้อย สำนวนนี้เอาผ้าที่พับเรียบร้อยมาเปรียบ มักใช้กับผู้หญิง
20. แม่แหพาน
มีนิสัยพาลเกะกะระราน แห คือ ตาข่ายสำหรับทอดจับปลา แหพานคือทอดหรือเหวี่ยงแหไปโดนปลา
ตัวอย่าง
ฟังเหน็บ                             แสนเจ็บใจขุ่นให้หุนหัน
ค้อนควักชักหน้าจึงว่าพลัน               ก็กระนั้น แหละแม่แหพาน
บทละครรามเกียรติ์ของกรมพระราชวังบวร ฯ
21.ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก
ถ้าจะอบรมสั่งสอนหรือดัดสันดานนิสัยสันดานคนให้ประพฤติดี ให้ทำตั้งแต่เด็กจึงจะได้ผล ถ้าโตเต็มที่อายุมากแล้วจากที่จะได้ผล เปรียบเหมือนดัดไม้ เช่น ดัดไม้ ต้องการดัดให้เป็นรูปต่าง ๆ ต้องดัดตั้งแต่ลำต้นกิ่งก้านยังอ่อนก็จะเป็นรูปได้ตามต้องการ ถ้าไม้โตแก่เสียแล้ว ดัดให้ให้เป็นรูปร่างยาก ดัดไม่ดีอาจจะหัก

22. ร้อนวิชา
ทำอะไร ปฏิบัติอะไรหรือประพฤติอะไรผิดอะไรผิดปกติวิสัยที่คนธรรมดาเขาทำกัน มูลของสำนวนมาจากคติที่ว่ากันว่า คนมีวิชาแก่กล้านั้นจะทำอะไรแปลก ๆ ผิดคนทั้งปวง เช่นคนทั้งหมดเขานั่งในร่ม แต่ตัวเองไปนั่งตากแดดอยู่คนเดียว สำนวนนี้ใช้กับคนที่มีวิชาจริง ๆ หรือใช้กับคนไม่มีวิชาความรู้อะไรเลยก็ได้
23. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
ทำตัวดี ประพฤติดี มีวิชาความรู้ก็ย่อมจะได้งานเบางานสูง ทำตัวไม่ดี ประพฤติไม่ดี ไม่มีวิชาความรู้ก็ย่อมจะต้องทำงานหนัก งานต่ำ จั่วเป็นของเบาต่างกับเสาที่เป็นของหนัก
ตัวอย่าง
รัก ความเจริญเร่งรู้           ระวังตน
ดี ชั่วตัวต้องตน                                    เที่ยวจ้าง
หามหาบแบกของขน                         เอาค่า แรงเฮย
จั่ว ย่อมเบาบ่าบ้าง                               แบ่งได้เดินสบาย
รัก การหยาบยุ่งแล้ว           เลยระยำ
ชั่ว บ่มีใครทำ                                       โทษให้
แบก แต่โง่งึมงำ                                  งงง่วงนอนแฮ
เสา หนักหามเหนื่อยได้                    ยากแท้ทำการ
โครงกระทู้สุภาษิต
24. สันหลังยาว
ขี้เกียจ เกียจคร้าน สำนวนนี้พูดเต็มว่า ขี้เกียจสันหลังยาว
25. เอาจมูกเขามาหายใจ
อาศัยผู้อื่นให้ทำงานให้ พึ่งผู้อื่นวานผู้อื่นให้เขาทำอะไร ๆให้ มุ่งถึงว่าย่อมจะไม่สะดวก ไม่ได้รับผลดี สำนวนนี้บางทีพูดว่า เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ หรือว่ายืมจมูกเขามาหายใจ

สำนวนไทยเกิดจากการละเล่น
1. เข้าตาจน
สำนวนนี้มาจากการละเล่นทีมีตัวหมากเดินตามตาราง เช่น หมากรุก หมากตัวใดต้องตกอยู่ในตาซึ่งไม่มีทางจะเดินต่อไปอีก ก็เรียกกันว่า จน คือแพ้ ใครที่ต้องตกอยู่ในที่อับจนไม่มีทางเบี่ยงบ่ายเอาตัวรอดได้ ก็เรียกว่า เข้าตาจน


ตัวอย่าง
สิ้นคิดฤทราเข้าตาจน จนผลาญนฤมลให้มรณา
อิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2
2. คลุกคลีตีโมง
อยู่ร่วมกัน คลุกคลีอยู่ด้วยกัน คำว่า ตีโมง หมายถึงตีฆ้อง การเล่นของไทยในสมัยโบราณมักจะมีฆ้องกับกลองเป็นอุปกรณ์ เช่น โมงครุม ระเบ็ง ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาในบุณโณวาท คำฉันท์ว่า
ตัวอย่าง
โมงครุ่มคณาชายกลเพศพึงแสยง ทับทรวงสอิ้งแผง ก็ตระกูตะโกดำ เทริดใส่บ่ใคร่ยล ก็ละเล่นละลานทำ กุมแส้ทวารำ ศรับร้องดำเนินวง
3. ถูกขา
หมายความว่า เข้าคู่ หรือเข้าพวก หรือเข้าชุดกันได้สนิทสนมกลมเกลียวกันดีไม่ขัดเขิน เช่นเล่นฟุตบอลถูกขากัน เต้นรำถูกขากัน มูลของสำนวนนี้มาจากการเล่นที่ประกอบด้วยผู้เล่นหลาย ๆ คน เช่นเล่นไพ่ ถ้าเคยเล่นด้วยกันมาก่อนเรียกว่าถูกขากัน
4. นักเลงอดเพลงไม่ได้
มีนิสัยชอบแล้วอดไม่ได้ มูลของสำนวนน่าจะมาจากการเล่นเพลง นักเลง หมายถึงนักเล่น เมื่อเป็นนักเล่นแล้วเห็นคนอื่นเล่นเพลงกันก็อดที่จะเข้าร่วมวงไม่ได้ ต่อมาใช้กว้างออกไป หมายถึงอะไรก็ได้เมื่อชอบแล้วก็อดที่จะประพฤติไม่ได้
5. โบแดง
การแสดงออกที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถให้เป็นที่ยกย่อง มูลของสำนวนมาจากการเล่นเครื่องโต๊ะจีนในสมันรัชกาลที่ 4 คือ มีการประกวดตั้งโต๊ะจีน โต๊ะของผู้ใดมีเครื่องโต๊ะ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ซึ่งเป็นผู้ชำนาญเครื่องโต๊ะก็เอา แพรแดง ผูกทำขวัญชิ้นนั้น เครื่องโต๊ะจีนชิ้นใดได้แพรแดงก็แสดงว่าเป็นของดี ต่อมาเอาแพรมาทำเป็นโบแดง โบแดงกลายเป็นสำนวนใช้บอกถึงความสามารถดีเด่น ใครทำอะไรที่ดีเด่นก็จะเป็นที่ยกย่องนับถือ
6. ประสมโรง
เข้าร่วมเป็นพวก มูลของสำนวนนี้มาจากการเล่นละคร ในสมัยก่อนละครที่รวมเป็นคณะเรียกว่า โรง บางคนตั้งคณะละครขึ้น โดยนำเอาตัวละครจากที่ต่าง ๆ มารวมกันให้ได้เป็นโรง เรียกว่าประสมโรง
7. เป็นปี่เป็นขลุ่ย
พูดหรือทำอะไรถูกคอกัน กลมเกลียวไปด้วยกันอย่างดี มูลของสำนวนมาจากการเล่นปี่พาทย์ในวงปี่พาทย์คนเป่าปี่เป็นคนนำเครื่องอื่นตามกลมกลืนกัน ใครพูดหรือหรือทำอะไรนำขึ้น คนอื่น ๆ ตาม จะพูดว่า เป็นปี่เป็นขลุ่ย


ตัวอย่าง
จะอุตสาห์ปาตะปารักษากิจ อวยอุทิศผลผลาถึงยาหยี
จะเกิดไหนในจังหวัดปักพี ให้เหมือนปี่กับขลุ่ยต้องทำนองกัน
นิราศอิเหนาของสุนทรภู่
8. เป็นหุ่นให้เชิด
อยู่ในฐานะหรืออยู่ในอำนาจให้คนอื่นใช้เป็นเครื่องบังหน้าเขาให้ทำอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ตนไม่มีอำนาจที่จะทำได้ นอกจากต้องสำแดงตัวรับหน้าแทนเขาไปเรื่อย ๆ มูลของสำนวนนี้มาจากการเล่นหุ่น เช่น หุ่นใหญ่ หุ่นกระบอก ซึ่งมีคนเชิดตัวหุ่นอยู่ด้านหลัง จะให้ตัวหุ่นทำอย่างไรก็แล้วแต่คนเชิดทั้งสิ้น
9. พ่อแจ้แม่อู
หมายความว่า ต่างพันธุ์ผสมกันพันทาง พ่อแจ้ หมายความว่าพ่อเป็นไก่แจ้ แม่อู หมายความว่า แม่เป็นไก่อู ไก่อูเป็นไก่ที่สูงใหญ่กว่าไก่แจ้ ไก่ที่เอามาเล่นพนันชนกันเป็นไก่อู
10. มือใครยาวสาวได้สาวเอา
ใครมีกำลังความสามารถหรืออิทธิพล หรืออำนาจหรืออะไรก็ตามที่จะถือเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้แล้วรีบเอาทันทีเป็นลักษณะของการแย่งชิงกัน ใช้ในเรื่องอะไรก็ได้ ใช้ได้ทั่ว ๆ ไป มูลของสำนวนมาจากบทร้องเล่นโบราณที่ว่าซักส้าวเอย มะนาวโตงเตง ขุนนางมาเอง มาเล่นซักส้าว มือใครยาวส้าวได้ส้าวเอา มือใครสั้นเอาเถาวัลย์ต่อเข้า
11. ไม่มีปี่มีกลอง
ทำหรือพูดขึ้นมาโดยไม่มีเค้ามูล มูลของสำนวนนี้มาจากการรำละคร หรือกระบี่กระบองที่ใช้ปี่กับกลองทำเพลง เป็นจังหวะประกอบรำ เช่น ในเสภาขุนช้างขุนแผนตอนโจรปล้นขุนศรีวิชัย จับขุนช้างกับนางแพรทองให้รำ มีกลอนว่าเจ้าขุนช้างกับนางแพรทอง ว่าไม่มีปี่กลองรำไม่ได้แปลว่าเมื่อจะรำก็ต้องมีปี่กลอง ดังนั้นอะไรที่เกิดขึ้นเงียบ ๆ เฉย ๆ โดยไม่มีเค้ามูล จึงพูดเป็นสำนวนว่า ไม่มีปี่มีกลอง
12. ไม้ตาย
นำหรือยกเอาข้อสำคัญมาใช้หรือกล่าวอ้าง โดยที่เชื่อว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องจำนน หรือไม่ไห้รอดพ้นไปได้หรือพ่ายแพ้ มูลของสำนวนมาจากเพลงกระบี่กระบอง ตลอดจนมวย เช่นเวลาตีต่อยหมายเอาที่สำคัญที่คู่ต่อสู้จะต้องแพ้ เช่น แสกหน้าดอกไม้ทัด (ซอกหู) ปลายคาง กำด้น การทำถ้าถูกที่สำคัญเหล่านี้เรียกว่า ไม้ตาย เมื่อแปลเป็นสำนวนพูดว่าโดนไม้ตาย
13. ไม้นวม
ทำหรือพูดอะไรก็ตามต่อผู้หนึ่งผู้ใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงเบาะ ๆ ไม่ให้หนักรุนแรง มูลของสำนวนมาจากปี่พาทย์ คือการบรรเลง ปี่พาทย์มีสองอย่าง ถ้าจะให้เสียงดังแรงใช้ไม้ตี ชนิดทีเรียกว่าไม้แข็งถ้าจะให้เสียงเบาฟังนุ่มนวล ให้ใช้ไม้ตีที่เรียกว่า ไม้นวม นำมาใช้เป็นสำนวนหมายความว่า คนที่ทำผิดหรือทำอะไรรุนแรงเกินเลยไป แทนที่จะลงโทษก็ว่ากล่าวสั่งสอนให้รู้สำนึกตัวเรียกว่าใช้ไม้นวม

14. ร้องจ๊อก
ไม่ต่อสู้ ยอมแพ้ มูลของสำนวนมาจากการเล่นชนไก่ ขณะต่อสู้กัน ตัวใดแพ้ไม่ต่อสู้จะร้องออกเสียง จ๊อก และวิ่งหนีไป
15. รำพัด
หมายความว่า เล่นไพ่ตอง วิธีเล่นไพ่ตองมีไพ่ถือในมือ 11 ใบ เวลาคลี่ไพ่ออก ไพ่มีรูปเหมือนพัดด้ามจิ้ว รำเป็นท่าต่าง ๆ เรียกว่า รำพัด
16. รำไม่ดีโทษปี่พาทย์
ตัวเองทำไม่ดี ทำไม่ถูกหรือทำผิดแล้วไม่รู้ หรือไม่ยอมรับว่าตัวผิด กลับไปซัดไปโทษเอาคนอื่น มูลของสำนวนมาจากการฟ้อนรำ ทำท่าที่มีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบ ปี่พาทย์เป็นหลักของการรำลีลาท่ารำ ต้องให้เข้ากับกระบวนปี่พาทย์ ผู้รำชำนาญก็รำเข้าปี่พาทย์ได้งามถ้าไม่ชำนาญก็ผิดจังหวะพลัดพลาดไปไม่งาม สำนวน รำไม่ดีโทษปี่พาทย์ หมายความว่า ตนรำไม่ดีแล้วไปโทษปี่พาทย์ว่าทำเพลงผิด
ตัวอย่าง ท่าละครมีกลอนว่า
แม้ชำนาญการฝึกรู้สึกลับ                บทสำหรับท่าทีที่แอบแฝง
ย่อมเจนจัดคัดลอกออกสำแดง                          แม้นจะแกล้งทำบ้างก็ยังดี
หากว่าไม่เชี่ยวชาญการฝึกหัด                          ถึงจะดัดตามต้อยสักร้อยสี
ไม่นิ่มนวลยวลยลกลวิธี                                     อาจโทษพาทย์กลองรับร้องรำ
17. ลงโรง
หมายความว่า เริ่มลงมือทำ ตั้งต้นทำ ลงโรงเป็นภาษามโหรสพ เช่นการเล่นละครรำปี่พาทย์ทำเพลงไปก่อนเรียกว่า โหมโรง พอได้เวลาตัวละครออกแสดงเรียกว่า ลงโรง เล่นไปจนเลิก เรียกว่า ลาโรง แปลตามตัวว่า ลงมาที่โรง ลงโรงเมื่อใช้กับการเล่นมโหรสพ ก็แปลว่าเริ่มเล่น เริ่มแสดง เมื่อใช้เป็นสำนวนหมายความว่า เริ่มลงมือทำ ตั้งต้น
18. ลดข้อกินเบียร์
สำนวนนี้มาจากการเล่นบิลเลียด คนเล่นเก่งเมื่อไปอยู่ในหมู่คนเล่นไม่เก่งเวลาเล่นมักจะไม่บรรจงแทง หรือแสร้งหย่อนฝีมือให้เพลาลง จะได้มีคนเล่นด้วย การเล่นมักจะเล่นเป็นการพนัน คนแพ้ต้องเสีย โดยการกินเบียร์ คนเก่งที่แสร้งหย่อนมือเพื่อเล่นเอาเบียร์จึงพูดว่า ลดข้อกินเบียร์
19. เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ
หมายความว่า สวนกัน สวนกันไปสวนกันมา คนละที่ไม่พบกัน ตามหากันคนนี้ไป คนนั้นมา ไม่พบกัน มูลของสำนวนนี้มาจากการเล่นที่เรียกว่า เอาเถิด ฝ่ายหนึ่งล่อให้ไล่ ฝ่ายหนึ่งตามจับ ฝ่ายล่อพยายามหลบหลีก ไม่ให้อีกฝ่ายไล่จับได้
20. วุ่นเป็นงานหา
หมายความว่า วุ่นต่าง ๆ มูลของสำนวนนี้มาจากการเล่นมหรสพ มหรสพที่เล่นในงานเรียกตามธุรกิจที่ติดต่อ มี 2 อย่าง คืองานหางานหนึ่ง กับงานช่วยอีกงานหนึ่ง งานหมายถึงงานที่เจ้าของงงานให้มหรสพ ไปเล่นในงาน และเสียเงินเป็นค่าจ้าง ให้แก่เจ้าของโรง ตามราคาที่ตกลงกันไว้ ส่วนงานช่วย เป็นงานที่เจ้าของโรงนำมหรสพไปช่วยเจ้าของงาน โดยไม่รับเงินค่าจ้าง
21. ศอกกลับ
หมายความว่า แก้เรื่องหรือข้อกล่าวหาย่อนกลับไปยังผู้กล่าวหา มูลของสำนวนมาจากการชกมวยไทย เวลาเข้าประชิดใช้ศอกกลับหลังให้ถูกคู่ต่อสู้ ถ้าถูกแล้วจะถูกอย่างจัง เรียกว่า ศอกกลับ การพูดหรือทำอะไรเป็นการแก้เรื่องหรือข้อหาให้ย้อนกลับไปที่ต้นเรื่องจึงพูดว่า ศอกกลับ
22. สายป่านสั้น
หมายความว่า มีเงินน้อยทุนน้อย มูลของสำนวนมาจากการเล่นว่าวจุฬาคว้าปักเป้า ว่าวจุฬาต้องสายป่านที่ยาวจึงจะคว้าสะดวก และเมื่อติดปักเป้า ให้เสียท่าอย่างไรก็ได้แต่ถ้าสายป่านสั้นก็ทำอะไรไม่ได้ เช่นคนที่ทำงานหรือขยายกิจการอะไรให้ใหญ่โตไม่สำเร็จ
23. สิ้นเขม่าไฟ
สำนวนนี้มาจากการเล่นโต๊ะจีน เช่นเครื่องลายคราม เครื่องสีต่าง ๆ ในตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะแลถ้วยนั้น มีความตอนหนึ่งว่า
ตัวอย่าง
ส่วนของเก่ากับของใหม่นั้น สังเกตได้ที่ของใหม่ยังไม่หมดผิวอย่างหนึ่ง เรียกในพวกเล่นโต๊ะว่า เขม่าไฟ คือน้ำเคลือบเงาอย่างกล้า สีดูยังสดเกินไป จับผิวเนื้อดูก็ยังระคายไม่เรียบราบไม่เหมือนกับของใหม่
24. หัวไม่วาง หางไม่เว้น
หมายความว่าเอาทั้งหมด เอาทุกอย่าง ทำอยู่ตลอดเวลา สำนวนนี้มักพูดเกี่ยวการเล่น เด็กเล่นหัวไม่วาง หางไม่เว้น จึงอาจเอามาจากการเล่นของไทย ที่สมัยโบราณเรียกว่า งูกินหาง ซึ่งมีคำพูดอยู่ในตอนท้ายว่า กินหัวกินหาง กินกลางตลอดตัว มิฉะนั้นก็อาจมาจากปลา คือกินทั้งหัวกินทั้งหาง หมดคนเดียว ไม่ปล่อยให้คนอื่นได้กินบ้าง
25. ออกโรง
ออกแสดงการละเล่นมหรสพ คำว่าโรงหมายถึง โรงโขนโรงละคร โรงหนัง สำนวนนี้ใช้ในหารมหรสพแม้จะไม่เป็นโรงแต่เป็นการเล่นมหรสพอะไรก็ใช้ได้ บางครั้งใช้กับผู้ที่ออกทำงานด้วยตนเองทั้งๆ ที่ตนไม่ต้องทำ แต่ก็ออกทำเองก็ได้
ตัวอย่าง
ทั้งรูปร่างจริตติดโอ่โถง   เคยเล่นนอกออกโรงมาหลายหน
ขับรำทำได้ตามจน                              ดีจริงยิ่งคนที่มาเอย
อิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Sample text

Sample Text

Sample Text

 
Blogger Templates